เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
วิญญาณ 6 คือ ไม่ควรให้เกิด ไม่ควรให้เกิดขึ้น ไม่ควรให้บังเกิด ไม่ควรให้บังเกิดขึ้น
รวมความว่า เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ ... ไม่ควรก่ออุปธิ
คำว่า ทุกข์ ได้แก่ ชาติทุกข์ ชราทุกข์ พยาธิทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทว
ทุกขโทมนัสอุปายาสทุกข์
คำว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็น (ทุกข์ว่ามีชาติ)เป็นแดนเกิด อธิบายว่า
พิจารณาเห็นมูล พิจารณาเห็นเหตุ พิจารณาเห็นต้นเหตุ พิจารณาเห็นการเกิดขึ้น
พิจารณาเห็นแดนเกิด พิจารณาเห็นสมุฏฐาน พิจารณาเห็นอาหาร พิจารณาเห็น
อารมณ์ พิจารณาเห็นปัจจัย พิจารณาเห็นเหตุเกิดแห่งทุกข์
ญาณ ตรัสเรียกว่า อนุปัสสนา ได้แก่ ความรู้ทั่ว กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ
ความไม่หลงงมงาย ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ1
ผู้ใดประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาเห็นนี้ ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ผู้มีปกติพิจารณา
เห็น รวมความว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นทุกข์ว่ามีชาติเป็นแดนเกิด ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า
ผู้ใดแล ไม่มีปัญญา ย่อมก่ออุปธิ
ผู้นั้นจัดว่าเป็นคนเขลา ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ
เพราะฉะนั้น บุคคลรู้อยู่ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นทุกข์ว่า
มีชาติเป็นแดนเกิด ไม่ควรก่ออุปธิ
[21] (ท่านเมตตคูทูลถามว่า)
พวกข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาใดกับพระองค์
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสบอกปัญหานั้นแก่พวกข้าพระองค์แล้ว
ข้าพระองค์ขอทูลถามปัญหาอื่นต่อไป
ขอพระองค์โปรดตรัสบอกปัญหานั้นด้วยเถิด

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 5/58

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :124 }