เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
ว่าด้วยผู้จบเวท
คำว่า ทรงเป็นผู้จบเวท ทรงอบรมพระองค์แล้ว อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท อย่างไร
ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ฯลฯ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิมังสา
วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิในมรรคทั้ง 4 เรียกว่า เวท
พระผู้มีพระภาคทรงถึงที่สุด ทรงบรรลุที่สุด ทรงถึงส่วนสุด ทรงบรรลุส่วนสุด
ทรงถึงปลายสุด ทรงบรรลุปลายสุด ทรงถึงท้ายสุด ทรงบรรลุท้ายสุด ทรงถึงที่
ปกป้อง ทรงบรรลุที่ปกป้อง ทรงถึงที่หลีกเร้น ทรงบรรลุที่หลีกเร้น ทรงถึงที่พึ่ง
ทรงบรรลุที่พึ่ง ทรงถึงที่ไม่มีภัย ทรงบรรลุที่ไม่มีภัย ทรงถึงที่ไม่จุติ ทรงบรรลุที่ไม่จุติ
ทรงถึงที่ไม่ตาย ทรงบรรลุที่ไม่ตาย ทรงถึงที่ดับ ทรงบรรลุที่ดับแห่งชาติ ชรา
และมรณะ ด้วยเวทเหล่านั้น
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท เพราะทรงถึงที่สุดแห่ง
เวททั้งหลาย
ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท เพราะทรงถึงที่สุดด้วยเวททั้งหลาย
ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท เพราะทรงเป็นผู้รู้แจ้งธรรม 7 ประการ คือ
1. ทรงรู้แจ้งสักกายทิฏฐิ
2. ทรงรู้แจ้งวิจิกิจฉา
3. ทรงรู้แจ้งสีลัพพตปรามาส
4. ทรงรู้แจ้งราคะ
5. ทรงรู้แจ้งโทสะ
6. ทรงรู้แจ้งโมหะ
7. ทรงรู้แจ้งมานะ
และพระองค์ทรงรู้แจ้งบาปอกุศลธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติชราและมรณะต่อไป


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :114 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 4. เมตตคูมาณวปัญหานิทเทส
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สภิยะ)
บุคคลวิจัยเวททั้งหมดของสมณพราหมณ์ที่มีอยู่
เป็นผู้ปราศจากราคะในเวทนาทั้งปวง
ก้าวล่วงเวททั้งปวงแล้ว ชื่อว่าผู้จบเวท1
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงเป็นผู้จบเวท อย่างนี้
พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าทรงอบรมพระองค์แล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงอบรมพระวรกายแล้ว อบรมศีล อบรมจิต อบรม
ปัญญา อบรมสติปัฏฐาน อบรมสัมมัปปธาน อบรมอิทธิบาท อบรมอินทรีย์
อบรมพละ อบรมโพชฌงค์ อบรมมรรค ทรงละกิเลสได้แล้ว รู้แจ้งธรรมที่ไม่
กำเริบแล้ว ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว พระองค์ทรงกำหนดรู้ทุกข์ได้แล้ว ละสมุทัยได้แล้ว
เจริญมรรคได้แล้ว ทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้แล้ว กำหนดรู้ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ได้แล้ว ละธรรมที่ควรละได้แล้ว เจริญธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทำให้
แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งได้แล้ว พระองค์ทรงมีธรรมไม่น้อย ใหญ่ ลึกซึ้ง ประมาณไม่ได้
หยั่งลงได้ยาก มีพระธรรมรัตนะมาก เปรียบดังทะเลหลวง ประกอบด้วยอุเบกขา
มีองค์ 6 (คือ)

ว่าด้วยอุเบกขามีองค์ 6
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ไม่ดีพระทัย ไม่เสียพระทัย
ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ทรงสดับเสียงทางพระโสตแล้ว ฯลฯ ทรงดม
กลิ่นทางพระนาสิกแล้ว ฯลฯ ทรงลิ้มรสทางพระชิวหาแล้ว ฯลฯ ทรงถูกต้อง
โผฏฐัพพะทางพระวรกายแล้ว ฯลฯ ทรงรู้ธรรมารมณ์ทางพระทัยแล้ว ก็ไม่ดีพระทัย
ไม่เสียพระทัย ทรงวางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่
พระผู้มีพระภาคทรงเห็นรูปทางพระเนตรแล้ว ก็ไม่ติดพระทัย ไม่ทรงยินดีรูป
ที่น่าพอพระทัย ไม่ทรงให้เกิดความกำหนัด พระองค์มีพระวรกายตั้งมั่น มีพระทัย
ตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีภายใน หลุดพ้นดีแล้ว ทรงเห็นรูปนั้นที่ไม่น่าพอพระทัยทาง

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/535/438, ขุ.ม.(แปล) 29/80/242

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :115 }