เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
ทำให้อวัยวะขาดหลุดไป แต่ยังไม่ถึงกับทำให้เสียชีวิตก็มี บางครั้งความโกรธเพียง
แต่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต แต่ยังไม่ถึงกับทำให้ดำรงอยู่เพื่อฆ่าตนเองก็มี เมื่อใด
ความโกรธทำให้ฆ่าบุคคลอื่นแล้วฆ่าตนเองเสียด้วย เมื่อนั้น ความโกรธเป็นไปรุนแรงมาก
ถึงความเป็นสิ่งร้ายแรงอย่างยิ่ง ความโกรธนั้น ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้
นั้นตรัสเรียกว่า ปราศจากควัน
ชื่อว่าปราศจากควัน เพราะเป็นผู้ละความโกรธได้แล้ว ชื่อว่าปราศจากควัน
เพราะเป็นผู้กำหนดรู้ที่ตั้งแห่งความโกรธได้แล้ว ชื่อว่าปราศจากควัน เพราะเป็นผู้
เข้าไปตัดเหตุแห่งความโกรธได้แล้ว
คำว่า ไม่มีทุกข์ อธิบายว่า ราคะเป็นทุกข์ โทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ ฯลฯ
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทเป็นทุกข์ ความทุกข์เหล่านี้ผู้ใดละได้แล้ว คือ ตัดขาด
ได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีทุกข์
คำว่า ไม่มีความหวัง อธิบายว่า ตัณหาตรัสเรียกว่า ความหวัง ได้แก่
ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ อภิชฌา อกุศลมูลคือโลภะ1 ความหวัง คือ
ตัณหาเหล่านี้ผู้ใดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้
เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว ผู้นั้นตรัสเรียกว่า ไม่มีความหวัง
คำว่า ชาติ ได้แก่ การเกิด คือ การเกิดขึ้น การก้าวลง (สู่ครรภ์) การบังเกิด
การบังเกิดขึ้น ความปรากฏแห่งขันธ์ทั้งหลาย การได้อายตนะในหมู่สัตวนั้น ๆ
ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า ชรา ได้แก่ ความแก่ คือ ความทรุดโทรม ความเป็นผู้มีฟันหัก
ความเป็นผู้มีผมหงอก ความเป็นผู้มีหนังเหี่ยว ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อม
แห่งอินทรีย์2ทั้งหลายในหมู่สัตวนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
คำว่า เรากล่าวว่า ... บุคคลนั้นเป็นผู้สงบ ปราศจากควัน ไม่มีทุกข์
ไม่มีความหวัง ชื่อว่าข้ามชาติและชราได้แล้ว อธิบายว่า เรากล่าว คือ บอก แสดง

เชิงอรรถ :
1 ดูรายละเอียดข้อ 2/50-51
2 อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ขุ.จู.อ. 17/17)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :108 }