เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อนทุกสถาน ...
ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุศลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า เป็นผู้สงบ
คำว่า ปราศจากควัน อธิบายว่า กายทุจริต พระอรหันตขีณาสพขจัดได้แล้ว
คือ กำจัด ทำให้แห้ง ทำให้เหือดแห้ง ทำให้หมดสิ้นไปได้แล้ว วจีทุจริต มโนทุจริต
พระอรหันตขีณาสพขจัดได้แล้ว คือ กำจัด ทำให้แห้ง ทำให้เหือดแห้ง ทำให้
หมดสิ้นไปได้แล้ว
ราคะ ... โทสะ ... โมหะ พระอรหันตขีณาสพขจัดได้แล้ว กำจัด ทำให้แห้ง
ทำให้เหือดแห้ง ทำให้หมดสิ้นไปได้แล้ว
โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา
... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ
... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความ
เร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
พระอรหันตขีณาสพขจัดได้แล้ว คือ กำจัด ทำให้แห้ง ทำให้เหือดแห้ง ทำให้
หมดสิ้นไปได้แล้ว
อีกนัยหนึ่ง ควัน ตรัสเรียกว่าความโกรธ
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
พราหมณ์ ท่านมีมานะเป็นเครื่องหาบ
มีความโกรธเป็นควัน มีความเป็นคนพูดเท็จเป็นเถ้า
มีลิ้นเป็นทัพพี มีหัวใจเป็นที่บูชาไฟ
ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นความรุ่งเรืองของบุรุษ1

ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งความโกรธ 10
อีกนัยหนึ่ง ความโกรธย่อมเกิดเพราะเหตุ 10 อย่าง คือ
1. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา

เชิงอรรถ :
1 สํ.ส. 15/195/203

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :106 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
2. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
3. เพราะสำคัญว่า ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา
4. ฯลฯ ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
5. ฯลฯ ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
6. ฯลฯ ผู้นี้จักทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่คนผู้เป็นที่รักที่ชอบพอของเรา
7. ฯลฯ ผู้นี้ได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
8. ฯลฯ ผู้นี้กำลังทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
9. ฯลฯ ผู้นี้จักทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอ
ของเรา
10. ความโกรธเกิดขึ้นในฐานะอันไม่สมควร
ใจปองร้าย มุ่งร้าย ขัดเคือง ขุ่นเคือง เคือง เคืองมาก เคืองตลอด ชัง ชิงชัง
เกลียดชัง ใจพยาบาท ใจแค้นเคือง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ ภาวะที่โกรธ
ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย ภาวะที่คิดประทุษร้าย ความคิดปองร้าย
กิริยาที่คิดปองร้าย ภาวะที่คิดปองร้าย ความโกรธ ความแค้น ความดุร้าย
ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิตเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความโกรธ
อีกนัยหนึ่ง พึงทราบความโกรธมาก ความโกรธน้อย บางครั้งความโกรธ
เพียงทำให้ใจขุ่นมัว ยังไม่ถึงกับหน้าเง้าหน้างอก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้
หน้าเง้าหน้างอ แต่ยังไม่ถึงกับคางสั่นก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้คางสั่น
แต่ยังไม่ถึงกับพูดคำหยาบก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้พูดคำหยาบ แต่ยังไม่
ถึงกับตาขวางมองทิศมองทางก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้ตาขวางมองทิศ
มองทาง แต่ยังไม่ถึงกับคว้าไม้คว้ามีดก็มี บางครั้งความโกรธเพียงทำให้คว้าไม้
คว้ามีด แต่ยังไม่ถึงกับเงือดเงื้อไม้และมีด(ที่ถือไว้)ก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่
ทำให้เงือดเงื้อไม้และมีด แต่ยังไม่ถึงกับลงมือฟาดฟันก็มี บางครั้งความโกรธเพียง
แต่ฟาดฟัน แต่ยังไม่ถึงกับทำให้เกิดบาดแผลก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ทำให้
เกิดบาดแผล แต่ยังไม่ถึงกับทำให้กระดูกหักก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่ทำให้
กระดูกหัก แต่ยังไม่ถึงกับทำให้อวัยวะขาดหลุดไปก็มี บางครั้งความโกรธเพียงแต่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :107 }