เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [ปารายนวรรค] 5. มาณวปัญหานิทเทส 3. ปุณณกมาณวปัญหานิทเทส
เพื่อกำจัดราคะ ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อกำจัดโทสะ ปราศจากโมหะ หรือ
ปฏิบัติเพื่อกำจัดโมหะ ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติ-
ญาณทัสสนะ ชนทั้งหลายผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นอย่างนี้ รวมความว่า หวัง ชื่นชม
คำว่า มุ่งหวัง อธิบายว่า ชนทั้งหลาย มุ่งหวังการได้รูป มุ่งหวังการได้เสียง
การได้กลิ่น การได้รส การได้โผฏฐัพพะ การได้อัตภาพในตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ฯลฯ มุ่งหวังการได้อัตภาพในหมู่เทพชั้นพรหมกายิกา รวมความว่า หวัง ชื่นชม
มุ่งหวัง
คำว่า จึงพากันบูชายัญ อธิบายว่า จึงพากันบูชายัญ คือ จึงพากันให้ สละ
บริจาคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าว น้ำ ผ้า ยาน
พวงดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องประทีป รวมความว่า
ชนเหล่านั้น หวัง ชื่นชม มุ่งหวัง จึงพากันบูชายัญ
คำว่า ปุณณกะ เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพราหมณ์นั้นโดยชื่อ
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นคำกล่าวโดยความเคารพ ฯลฯ คำว่า พระ
ผู้มีพระภาค นี้เป็นสัจฉิกาบัญญัติ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
ปุณณกะ
คำว่า เพราะอาศัยลาภ จึงมุ่งหวังกาม อธิบายว่า เพราะอาศัยการได้รูป
จึงมุ่งหวังกาม เพราะอาศัยการได้เสียงจึงมุ่งหวังกาม ฯลฯ เพราะอาศัยการได้
อัตภาพในหมู่เทพชั้นพรหมกายิกา จึงมุ่งหวัง คือ ปรารถนากาม รวมความว่า
เพราะอาศัยลาภ จึงมุ่งหวังกาม
คำว่า เราขอกล่าวว่า ชนเหล่านั้นผู้ประกอบการบูชายัญ เป็นผู้กำหนัด
ยินดีในภพ ข้ามชาติและชราไปไม่ได้ ได้แก่ ผู้บูชายัญตรัสเรียกว่า ชนเหล่านั้น
คำว่า ผู้ประกอบการบูชายัญ ได้แก่ ผู้ประกอบ คือ ผู้ขวนขวาย ฝักใฝ่
ใฝ่ใจในการประกอบการบูชายัญ คือ ประพฤติในการบูชานั้น มากด้วยการบูชานั้น
หนักในการบูชานั้น เอนไปในการบูชานั้น โอนไปในการบูชานั้น โน้มไปในการบูชานั้น
น้อมใจไปในการบูชานั้น มีการบูชานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า ชนเหล่านั้น ผู้
ประกอบการบูชายัญ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :100 }