เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้นละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้ง
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ชื่อว่าผู้ไม่มีความ
ถือมั่น เพราะเป็นผู้ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้งความถือมั่นด้วย
อำนาจทิฏฐิได้แล้ว จะพึงไปด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ
วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า "เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ยึดติด ยึดถือ ฟุ้งซ่าน
ลังเล หรือตกอยู่ในพลังกิเลส"
ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้นละอภิสังขารได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขารได้แล้ว
จะพึงไปสู่คติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า "เป็นผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดใน
เปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็นผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มี
สัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่" ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้นจะพึง
ไปด้วยเหตุ ปัจจัยและการณ์ใด เหตุ ปัจจัยและการณ์นั้นไม่มี รวมความว่า ผู้มี
ปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ... ไม่มีความถือมั่น จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่
ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก
เพราะผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ละความหลอกลวง
และความถือตัวได้แล้ว ไม่มีความถือมั่น
จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า
[22] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลาย
จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า
เพราะความเห็นว่ามีตน ความเห็นว่าไม่มีตน
ไม่มีแก่ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น
ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น สลัดแล้วซึ่งทิฏฐิทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละ
คำว่า ผู้มีความถือมั่น ในคำว่า เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะ
ในธรรมทั้งหลาย ได้แก่ ความถือมั่น 2 อย่าง คือ (1) ความถือมั่นด้วย
อำนาจตัณหา (2) ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :98 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ผู้มีความถือมั่นนั้น ยังละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาไม่ได้ ยังสลัดทิ้งความ
ถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิไม่ได้ เพราะเป็นผู้ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิไม่ได้ ผู้มีความถือมั่นจึงเข้าถึงวาทะในธรรมทั้งหลายว่า
"เป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ยึดติด ยึดถือ ฟุ้งซ่าน ลังเล หรือตกอยู่ในพลังกิเลส"
ผู้มีความถือมั่นยังละอภิสังขารเหล่านั้นไม่ได้ เพราะยังเป็นผู้ละอภิสังขาร
ทั้งหลายไม่ได้ ย่อมเข้าถึง คือ เข้าไปถึง ถือ ยึดมั่น ถือมั่นวาทะด้วยคติว่า "เป็น
ผู้เกิดในนรก เกิดในกำเนิดเดรัจฉาน เกิดในเปตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทพ เป็น
ผู้มีรูป เป็นผู้ไม่มีรูป เป็นผู้มีสัญญา เป็นผู้ไม่มีสัญญา หรือเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่
ไม่มีสัญญาก็มิใช่" รวมความว่า เพราะว่าผู้มีความถือมั่นย่อมเข้าถึงวาทะในธรรม
ทั้งหลาย
คำว่า จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า อธิบายว่า
คำว่า ความถือมั่น ได้แก่ ความถือมั่น 2 อย่าง คือ (1) ความถือมั่น
ด้วยอำนาจตัณหา (2) ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วย
อำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ
ผู้ไม่มีความถือมั่นนั้น ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความ
ถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหา สลัดทิ้ง
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่น ด้วย
อำนาจราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัย อะไรเล่าว่า "เป็น
ผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ยึดติด ยึดมั่น ฟุ้งซ่าน ลังเล หรือตกอยู่ในพลังกิเลส"
ผู้ไม่มีความถือมั่นละอภิสังขารเหล่านั้นได้แล้ว เพราะเป็นผู้ละอภิสังขาร
ทั้งหลายได้แล้ว จะพึงกล่าวถึงคติด้วยเหตุอะไรเล่าว่า "เป็นผู้เกิดในนรก ... เป็นผู้มี
สัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่" ผู้มีความถือมั่นนั้นจะพึงกล่าว คือ พูด บอก
แสดง ชี้แจงด้วยเหตุ ปัจจัยและการณ์ใด เหตุ ปัจจัย และการณ์นั้นไม่มี รวมความว่า
จะพึงกล่าวคำติเตียนผู้ไม่มีความถือมั่นด้วยเหตุอะไรเล่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :99 }