เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
8. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา
9. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
ความถือตัว 10 นัย คือ คนบางคนในโลกนี้
1. เกิดความถือตัวเพราะชาติ
2. เกิดความถือตัวเพราะโคตร
3. เกิดความถือตัวเพราะเป็นบุตรของผู้มีตระกูล
4. เกิดความถือตัวเพราะเป็นผู้มีรูปงาม
5. เกิดความถือตัวเพราะมีทรัพย์
6. เกิดความถือตัวเพราะการศึกษา
7. เกิดความถือตัวเพราะหน้าที่การงาน
8. เกิดความถือตัวเพราะมีหลักแห่งศิลปวิทยา
9. เกิดความถือตัวเพราะวิทยฐานะ
10. เกิดความถือตัวเพราะความคงแก่เรียน เกิดความถือตัวเพราะปฏิภาณ
หรือเกิดความถือตัว เพราะสิ่งอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว
ความถือตัว กริยาที่ถือตัว ภาวะที่ถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน
ความเชิดชูตนเป็นดุจธง ความเห่อเหิม ความที่จิตต้องการเชิดชูตนเป็นดุจธงเห็น
ปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความถือตัว
คำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ละความหลอกลวงและความถือตัวได้แล้ว
อธิบายว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ละ คือ ละทิ้ง บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งความหลอกลวงและความถือตัว รวมความว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด
ละความหลอกลวงและความถือตัวได้แล้ว

ว่าด้วยความถือมั่น 2 อย่าง
คำว่า ความถือมั่น ในคำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัดนั้น ... ไม่มีความถือมั่น
จะพึงไปด้วยเหตุอะไรเล่า ได้แก่ ความถือมั่น 2 อย่าง คือ (1) ความถือมั่นด้วย
อำนาจตัณหา (2) ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจ
ตัณหา ... นี้ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :97 }