เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ความหลอกลวง ความเป็นผู้มีความหลอกลวง ความเสแสร้ง ความล่อลวง
การปิดบัง การหลบเลี่ยง การหลีกเลี่ยง การซ่อน การซ่อนเร้น การปิด การปกปิด
การไม่เปิดเผย การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง การปิดสนิท การทำความชั่วเห็นปานนี้ นี้ตรัส
เรียกว่า ความหลอกลวง
คำว่า ความถือตัว อธิบายว่า ความถือตัวนัยเดียว คือ ความที่จิตใฝ่สูง
ความถือตัว 2 นัย คือ
1. การยกตน 2. การข่มผู้อื่น
ความถือตัว 3 นัย คือ
1. ความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา 2. ความถือตัวว่าเราเสมอเขา
3. ความถือตัวว่าเราด้อยกว่าเขา
ความถือตัว 4 นัย คือ
1. เกิดความถือตัวเพราะลาภ
2. เกิดความถือตัวเพราะยศ
3. เกิดความถือตัวเพราะความสรรเสริญ
4. เกิดความถือตัวเพราะความสุข
ความถือตัว 5 นัย คือ
1. เกิดความถือตัวว่าเราได้รูปที่ถูกใจ
2. เกิดความถือตัวว่าเราได้เสียงที่ถูกใจ
3. เกิดความถือตัวว่าเราได้กลิ่นที่ถูกใจ
4. เกิดความถือตัวว่าเราได้รสที่ถูกใจ
5. เกิดความถือตัวว่าเราได้โผฏฐัพพะที่ถูกใจ
ความถือตัว 6 นัย คือ
1. เกิดความถือตัวเพราะมีตาสมบูรณ์
2. เกิดความถือตัวเพราะมีหูสมบูรณ์
3. เกิดความถือตัวเพราะมีจมูกสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :95 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
4. เกิดความถือตัวเพราะมีลิ้นสมบูรณ์
5. เกิดความถือตัวเพราะมีกายสมบูรณ์
6. เกิดความถือตัวเพราะมีใจสมบูรณ์
ความถือตัว 7 นัย คือ
1. ความถือตัว
2. ความดูหมิ่น
3. ความดูหมิ่นด้วยอำนาจความถือตัว
4. ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
5. ความถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
6. ความถือเราถือเขา
7. ความถือตัวผิด ๆ
ความถือตัว 8 นัย คือ
1. เกิดความถือตัวเพราะได้ลาภ
2. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะเสื่อมลาภ
3. เกิดความถือตัวเพราะมียศ
4. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะเสื่อมยศ
5. เกิดความถือตัวเพราะความสรรเสริญ
6. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะถูกนินทา
7. เกิดความถือตัวเพราะความสุข
8. เกิดความถือตัวว่าตกต่ำเพราะความทุกข์
ความถือตัว 9 นัย คือ
1. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
2. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าเสมอเขา
3. เป็นผู้เลิศกว่าเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
4. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา
5. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าเสมอเขา
6. เป็นผู้เสมอเขาถือตัวว่าด้อยกว่าเขา
7. เป็นผู้ด้อยกว่าเขาถือตัวว่าเลิศกว่าเขา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :96 }