เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ที่กำหนด ได้แก่ การกำหนด 2 อย่าง คือ (1) การกำหนดด้วย
อำนาจตัณหา (2) การกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจ
ตัณหา... นี้ชื่อว่าการกำหนดด้วยอำนาจทิฏฐิ1
คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า ในภพน้อยภพใหญ่ คือในกรรมวัฏและ
วิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ
ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในกรรมวัฏ
เป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป ในคติ
ต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป
คำว่า ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่ ของผู้มีปัญญาเครื่อง
กำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก อธิบายว่า ทิฏฐิที่กำหนด คือ กำหนดทั่ว ปรุงแต่ง
เฉพาะ ตั้งมั่นไว้ดีแล้ว(เพื่อเกิด)ในภพน้อยภพใหญ่ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มี
คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ในที่ไหน ๆ ในโลก ได้แก่ ทิฏฐิที่กำหนดนั้นผู้มี
ปัญญาเครื่องกำจัดละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้
เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า ทิฏฐิที่กำหนด(เพื่อเกิด)ในภพ
น้อยภพใหญ่ ของผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ไม่มีในที่ไหน ๆ ในโลก

ว่าด้วยความหลอกลวงและความถือตัว
คำว่า ผู้มีปัญญาเครื่องกำจัด ละความหลอกลวงและความถือตัวได้แล้ว
อธิบายว่า ความประพฤติหลอกลวง ตรัสเรียกว่า ความหลอกลวง คนบางคนใน
โลกนี้ ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ แล้วตั้งความปรารถนาชั่วทราม เพราะ
การปกปิดทุจริตนั้นเป็นเหตุ คือปรารถนาว่า "ใครอย่ารู้ทันเราเลย" ดำริว่า "ใคร
อย่ารู้ทันเราเลย" กล่าววาจาด้วยคิดว่า "ใครอย่ารู้ทันเราเลย" พยายามทางกาย
ด้วยคิดว่า "ใครอย่ารู้ทันเราเลย"

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 12/58-59

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :94 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ความหลอกลวง ความเป็นผู้มีความหลอกลวง ความเสแสร้ง ความล่อลวง
การปิดบัง การหลบเลี่ยง การหลีกเลี่ยง การซ่อน การซ่อนเร้น การปิด การปกปิด
การไม่เปิดเผย การไม่ทำให้แจ่มแจ้ง การปิดสนิท การทำความชั่วเห็นปานนี้ นี้ตรัส
เรียกว่า ความหลอกลวง
คำว่า ความถือตัว อธิบายว่า ความถือตัวนัยเดียว คือ ความที่จิตใฝ่สูง
ความถือตัว 2 นัย คือ
1. การยกตน 2. การข่มผู้อื่น
ความถือตัว 3 นัย คือ
1. ความถือตัวว่าเราเลิศกว่าเขา 2. ความถือตัวว่าเราเสมอเขา
3. ความถือตัวว่าเราด้อยกว่าเขา
ความถือตัว 4 นัย คือ
1. เกิดความถือตัวเพราะลาภ
2. เกิดความถือตัวเพราะยศ
3. เกิดความถือตัวเพราะความสรรเสริญ
4. เกิดความถือตัวเพราะความสุข
ความถือตัว 5 นัย คือ
1. เกิดความถือตัวว่าเราได้รูปที่ถูกใจ
2. เกิดความถือตัวว่าเราได้เสียงที่ถูกใจ
3. เกิดความถือตัวว่าเราได้กลิ่นที่ถูกใจ
4. เกิดความถือตัวว่าเราได้รสที่ถูกใจ
5. เกิดความถือตัวว่าเราได้โผฏฐัพพะที่ถูกใจ
ความถือตัว 6 นัย คือ
1. เกิดความถือตัวเพราะมีตาสมบูรณ์
2. เกิดความถือตัวเพราะมีหูสมบูรณ์
3. เกิดความถือตัวเพราะมีจมูกสมบูรณ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :95 }