เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความถือมั่น
คำว่า ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ในคำว่า ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ
มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ อธิบายว่า ความยึดมั่นถือมั่นว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ" ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ความยึดมั่นถือมั่นว่า
"โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะ
กับสรีระ เป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก ... หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็น
โมฆะ1" ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ อธิบายว่า
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ใช่ก้าวล่วงได้โดยง่าย คือ ก้าวล่วงได้โดยยาก
ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก รวมความว่า
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ
คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ได้แก่ ในทิฏฐิ 62
คำว่า ปลงใจแล้ว ได้แก่ ตกลงใจแล้ว วินิจฉัยแล้ว ตัดสินแล้ว ชี้ขาดแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คำว่า ถือมั่น ได้แก่ จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ
ในความยึดมั่นทั้งหลาย คือความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความ
น้อมใจเชื่อว่า ข้อนี้จริง แท้ แน่ แท้จริง ตามเป็นจริง ไม่วิปริต รวมความว่า
การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น
นรชน ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 16/77

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :90 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า นรชน ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์
คำว่า ในความถือมั่นเหล่านั้น ได้แก่ ในความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิเหล่านั้น
รวมความว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น นรชน

ว่าด้วยการสลัดทิ้ง 2 อย่าง
คำว่า ย่อมสลัดทิ้ง ในคำว่า ย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง
ได้แก่ ย่อมสลัดทิ้ง เพราะเหตุ 2 อย่าง คือ (1) สลัดทิ้งด้วยการตัดสินของผู้อื่น
(2) เมื่อไม่สำเร็จประโยชน์เองก็สลัดทิ้งเสีย
นรชนสลัดทิ้งด้วยการตัดสินของผู้อื่น เป็นอย่างไร
คือ ผู้อื่นตัดสินว่า ศาสดานั้น ไม่ใช่สัพพัญญู ธรรมมิใช่ธรรมที่ศาสดากล่าว
สอนไว้ดีแล้ว หมู่คณะมิใช่ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ทิฏฐิมิใช่สิ่งที่เจริญ ปฏิปทามิใช่ศาสดา
บัญญัติไว้ดีแล้ว มรรคมิใช่ทางนำออกไปจากทุกข์ ความหมดจด ความสะอาด
ความบริสุทธิ์ ความหลุดไป ความพ้นไป ความหลุดพ้นไป ในทิฏฐินี้ไม่มี ในทิฏฐินี้
สัตว์ทั้งหลายย่อมหมดจด สะอาด บริสุทธิ์ หลุดไป พ้นไป หรือหลุดพ้นไป ไม่มี
ทิฏฐินี้ เลว ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า เล็กน้อย ผู้อื่นย่อมตัดสินอย่างนี้
นรชนที่ถูกตัดสินอย่างนี้ ก็สลัดทิ้งศาสดา สลัดทิ้งธรรมที่ศาสดากล่าวสอน สลัด
ทิ้งหมู่คณะ สลัดทิ้งทิฏฐิ สลัดทิ้งปฏิปทา สลัดทิ้งมรรค นรชนชื่อว่าสลัดทิ้งด้วย
การตัดสินของผู้อื่นเป็นอย่างนี้
นรชนเมื่อไม่สำเร็จประโยชน์เองก็สลัดทิ้ง เป็นอย่างไร
คือ นรชนเมื่อไม่ทำศีลให้สำเร็จประโยชน์ก็สลัดทิ้งศีล เมื่อไม่ทำวัตรให้สำเร็จ
ประโยชน์ก็สลัดทิ้งวัตร เมื่อไม่ทำศีลวัตรให้สำเร็จประโยชน์ก็สลัดทิ้งศีลวัตร นรชน
ชื่อว่า เมื่อไม่สำเร็จประโยชน์เองก็สลัดทิ้ง เป็นอย่างนี้
คำว่า ยึดถือธรรมไว้บ้าง อธิบายว่า นรชนถือ ยึดมั่น ถือมั่น
ศาสดา ธรรมที่ศาสดากล่าวสอน หมู่คณะ ทิฏฐิ ปฏิปทา และมรรคไว้บ้าง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :91 }