เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ 8 จำพวก
1. บุคคลกำลังเจริญปฐมฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
2. บุคคลกำลังเจริญทุติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
3. บุคคลกำลังเจริญตติยฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
4. บุคคลกำลังเจริญจตุตถฌาน ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
5. บุคคลกำลังเจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการ
ข่มไว้
6. บุคคลกำลังเจริญวิญญานัญจายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการ
ข่มไว้
7. บุคคลกำลังเจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้โดยการ
ข่มไว้
8. บุคคลกำลังเจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมละกามได้
โดยการข่มไว้
บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการข่มไว้ เป็นอย่างนี้
ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการตัดขาด 4 จำพวก
บุคคลละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างไร คือ
1. บุคคลกำลังเจริญโสดาปัตติมรรค ย่อมละกามอันเป็นเหตุไปสู่อบาย
ได้โดยการตัดขาด
2. บุคคลกำลังเจริญสกทาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างหยาบได้โดยการ
ตัดขาด
3. บุคคลกำลังเจริญอนาคามิมรรค ย่อมละกามอย่างละเอียดได้โดยการ
ตัดขาด
4. บุคคลกำลังเจริญอรหัตตมรรค ย่อมละกามได้หมดสิ้น ไม่เหลือทุกสิ่ง
ทุกประการ โดยการตัดขาด
บุคคลชื่อว่าละกามได้โดยการตัดขาด เป็นอย่างนี้ รวมความว่า ผู้ใดละกามได้
คำว่า เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู อธิบายว่า งู เรียกว่า สัปปะ งูชื่อว่าสัปปะ
เพราะมีความหมายอย่างไร งูชื่อว่าสัปปะ เพราะเลื้อยไป ชื่อว่าภุชคะ เพราะเลื้อยไป
ด้วยขนด ชื่อว่าอุรคะ เพราะไปด้วยอก ชื่อว่าปันนคะ เพราะมุดหัวไป ชื่อว่าสิรีสปะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :9 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
เพราะนอนพาดหัวบนขนด ชื่อว่าพิลาสยะ เพราะนอนในรู ชื่อว่าคุหาสยะ เพราะ
นอนในถ้ำ ชื่อว่าทาฐาวุธะ เพราะมีเขี้ยวเป็นอาวุธ ชื่อว่าโฆรวิสะ เพราะมีพิษร้ายแรง
ชื่อว่าทุชิวหา เพราะมีลิ้น 2 แฉก ชื่อว่าทิรสัญญู เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น 2 แฉก บุรุษ
ผู้ปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเดินหลบ หลีก
เลี่ยง เบี่ยงหนีหัวงู ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์ พึงหลบ หลีก เลี่ยง เบี่ยงหนี
กามทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน รวมความว่า เหมือนคนเดินเลี่ยงหัวงู
คำว่า ผู้นั้น ในคำว่า ผู้นั้นมีสติ ล่วงพ้นตัณหาที่ชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก ได้แก่
ผู้ละกามได้ ตัณหาตรัสเรียกว่า วิสัตติกา
คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความคล้อยตามอารมณ์ ความยินดี
ความเพลิดเพลิน ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน ความกำหนัดนักแห่งจิต
ความอยาก ความสยบ ความหมกมุ่น ความหื่น ความหื่นกระหาย ความข้องอยู่
ความจมอยู่ ธรรมชาติที่ทำให้พลุกพล่าน ธรรมชาติที่หลอกลวง ธรรมชาติที่ยังสัตว์
ให้เกิด ธรรมชาติที่ยังสัตว์ให้เกิดพร้อม ธรรมชาติที่ร้อยรัด ธรรมชาติที่มีข่าย
ธรรมชาติที่กำซาบใจ ธรรมชาติที่ซ่านไป ธรรมชาติดุจเส้นด้าย ธรรมชาติที่แผ่ไป
ธรรมชาติที่ประมวลมา ธรรมชาติที่เป็นเพื่อน ความคนึงหา ตัณหาที่นำพาไปสู่ภพ
ตัณหาดุจป่า ตัณหาดุจป่าทึบ ความเชยชิด ความเยื่อใย ความห่วงใย ความผูกพัน
ความหวัง กิริยาที่หวัง ภาวะที่หวัง ความหวังในรูป ความหวังในเสียง ความหวังในกลิ่น
ความหวังในรส ความหวังในโผฏฐัพพะ ความหวังในลาภ ความหวังในทรัพย์ ความ
หวังในบุตร ความหวังในชีวิต ธรรมชาติที่กระซิบ ธรรมชาติที่กระซิบบ่อย ๆ
ธรรมชาติที่กระซิบยิ่ง ความกระซิบ กิริยาที่กระซิบ ภาวะที่กระซิบ ความละโมบ
กิริยาที่ละโมบ ภาวะที่ละโมบ ธรรมชาติที่ทำให้หวั่นไหว ภาวะที่ใคร่แต่อารมณ์ดี ๆ
ความกำหนัดในฐานะอันไม่ควร ความโลภเกินพอดี ความติดใจ กิริยาที่ติดใจ
ความปรารถนา ความใฝ่หา ความหมายปอง กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ตัณหาในรูปภพ ตัณหาในอรูปภพ ตัณหาในนิโรธ1 รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา

เชิงอรรถ :
1 ตัณหาในนิโรธ คือตัณหาที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ (ขุ.ม.อ. 3/39)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :10 }