เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คือ ผู้บรรลุปฐมฌานก็มีนิวรณ์สงบไป ผู้บรรลุทุติยฌานก็มีวิตกวิจารสงบไป
ผู้บรรลุตติยฌานก็มีปีติสงบไป ผู้บรรลุจตุตถฌานก็มีสุขและทุกข์สงบไป ผู้บรรลุ
อากาสานัญจายตนสมาบัติก็มีรูปสัญญา1 ปฏิฆสัญญา2 นานัตตสัญญา3สงบไป
ผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ก็มีอากาสานัญจายตนสัญญาสงบไป ผู้บรรลุ
อากิญจัญญายตนสมาบัติ ก็มีวิญญาณัญจายตนสัญญาสงบไป ผู้บรรลุเนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติ ก็มีอากิญจัญญายตนสัญญาสงบไป นี้ชื่อว่าตทังคสันติ
สมมติสันติ เป็นอย่างไร
คือ ความสงบแห่งทิฏฐิ 62 เรียกว่า สมมติสันติ อนึ่ง สมมติสันติพระผู้มี-
พระภาคทรงประสงค์ว่า สันติ ในคาถานี้
คำว่า อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น อธิบายว่า
อาศัย คือ อิงอาศัย ติด ติดแน่น ติดใจ น้อมใจเชื่อสันติที่กำเริบ คือ สันติที่
กำเริบทั่ว สะเทือน สั่นไหว หวั่นไหว กระทบกระทั่ง กำหนดแล้ว กำหนดทั่วแล้ว
ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา มีความเสื่อม
ไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา รวมความว่า
อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง เชิดชูไว้
(แต่)ไม่ขาวสะอาด เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ใดในตน
อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น
[20] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ
การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ก็มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น
นรชนย่อมสลัดทิ้งธรรมบ้าง ยึดถือธรรมไว้บ้าง

เชิงอรรถ :
1 รูปสัญญา ดูเชิงอรรถข้อ 7/32
2 ปฏิฆสัญญา ดูเชิงอรรถข้อ 7/32
3 นานัตตสัญญา ดูเชิงอรรถข้อ 7/32

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :89 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยความถือมั่น
คำว่า ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ในคำว่า ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ
มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ อธิบายว่า ความยึดมั่นถือมั่นว่า "โลกเที่ยง นี้เท่านั้นจริง
อย่างอื่นเป็นโมฆะ" ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ความยึดมั่นถือมั่นว่า
"โลกไม่เที่ยง ... โลกมีที่สุด ... โลกไม่มีที่สุด ... ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน ... ชีวะ
กับสรีระ เป็นคนละอย่างกัน ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก ... หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีก ... หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก และไม่เกิดอีก ... หลังจากตาย
แล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่ นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเป็น
โมฆะ1" ชื่อว่าความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ
คำว่า ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ อธิบายว่า
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ ไม่ใช่ก้าวล่วงได้โดยง่าย คือ ก้าวล่วงได้โดยยาก
ข้ามได้ยาก ข้ามพ้นได้ยาก ก้าวล่วงพ้นได้ยาก กลับตัวหลีกได้ยาก รวมความว่า
ความถือมั่นด้วยอำนาจทิฏฐิ มิใช่ก้าวล่วงได้ง่าย ๆ
คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ในคำว่า การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
ได้แก่ ในทิฏฐิ 62
คำว่า ปลงใจแล้ว ได้แก่ ตกลงใจแล้ว วินิจฉัยแล้ว ตัดสินแล้ว ชี้ขาดแล้ว
เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว
คำว่า ถือมั่น ได้แก่ จับมั่น ยึดมั่น ถือมั่น รวบถือ รวมถือ รวบรวมถือ
ในความยึดมั่นทั้งหลาย คือความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ ความ
น้อมใจเชื่อว่า ข้อนี้จริง แท้ แน่ แท้จริง ตามเป็นจริง ไม่วิปริต รวมความว่า
การปลงใจในธรรมทั้งหลายแล้วถือมั่น
คำว่า เพราะฉะนั้น ในคำว่า เพราะฉะนั้น ในความถือมั่นเหล่านั้น
นรชน ได้แก่ เพราะฉะนั้น คือ เพราะการณ์นั้น เพราะเหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น
เพราะต้นเหตุนั้น

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถข้อ 16/77

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :90 }