เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ภิกษุใด ในคำว่า อนึ่งภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหนๆ ในโลก
ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ
คำว่า กิเลสเครื่องฟู อธิบายว่า กิเลสเครื่องฟู 7 อย่าง คือ

1. กิเลสเครื่องฟูคือราคะ 2. กิเลสเครื่องฟูคือโทสะ
3. กิเลสเครื่องฟูคือโมหะ 4. กิเลสเครื่องฟูคือมานะ
5. กิเลสเครื่องฟูคือทิฏฐิ 6. กิเลสเครื่องฟูคือกิเลส
7. กิเลสเครื่องฟูคือกรรม

ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟู คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ คือ กิเลสเครื่องฟู
ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก
เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
คำว่า ในที่ไหนๆ ได้แก่ ในที่ไหน คือ ที่ไหน ๆ ที่ไร ๆ ภายใน ภายนอก หรือ
ทั้งภายในและภายนอก
คำว่า ในโลก ได้แก่ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก
อายตนโลก รวมความว่า อนึ่งภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหน ๆ ในโลก ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว
ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้
อนึ่ง ภิกษุใดไม่มีกิเลสเครื่องฟูในที่ไหน ๆ ในโลก
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอริยธรรม
[19] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง เชิดชูไว้
(แต่)ไม่ขาวสะอาด เจ้าลัทธินั้นเห็นอานิสงส์ใดในตน
อาศัยอานิสงส์นั้น และสันติที่กำเริบซึ่งอาศัยกันเกิดขึ้น
คำว่า เจ้าลัทธิใด มีธรรมที่กำหนดไว้ อันปัจจัยปรุงแต่ง อธิบายว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :86 }