เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ชื่อว่าผู้สงบ สงบเย็น ดับ ระงับได้แล้ว เพราะสงบ ระงับ สงบเย็น เผา ดับ
ปราศจาก สงบระงับโกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ...
มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ...
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท รวมความว่า
ผู้สงบ
คำว่า ภิกษุ อธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะทำลายธรรม 7 ประการได้แล้ว คือ
1. ทำลายสักกายทิฏฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวของตน)ได้แล้ว
2. ทำลายวิจิกิจฉา(ความลังเลสงสัย)ได้แล้ว
3. ทำลายสีลัพพตปรามาส(ความยึดมั่นในศีลพรต)ได้แล้ว
4. ทำลายราคะ(ความกำหนัด)ได้แล้ว
5. ทำลายโทสะ(ความคิดประทุษร้าย)ได้แล้ว
6. ทำลายโมหะ(ความลุ่มหลง)ได้แล้ว
7. ทำลายมานะ(ความถือตัว)ได้แล้ว
ภิกษุนั้นทำลายบาปอกุศลธรรม ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเศร้าหมอง ก่อภพใหม่
มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา มรณะ ต่อไปได้แล้ว
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า สภิยะ)
ผู้ใดควรแก่คำชมเชยว่า เป็นผู้ถึงนิพพานด้วยทางที่ตนทำแล้ว
ข้ามพ้นความสงสัยได้แล้ว ละความเสื่อมและความเจริญแล้ว
อยู่จบพรหมจรรย์ สิ้นภพใหม่แล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ภิกษุ1
คำว่า ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว อธิบายว่า
ชื่อว่าดับกิเลสแล้ว เพราะทำให้ราคะดับแล้ว
ชื่อว่าดับกิเลสแล้ว เพราะทำให้โทสะดับแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/520/435

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :84 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ชื่อว่าดับกิเลสแล้ว เพราะทำให้โมหะดับแล้ว
ชื่อว่าดับกิเลสแล้ว เพราะทำให้โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ ... ปฬาสะ... อิสสา
... มัจฉริยะ ... มายา ... สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ
... ปมาทะ ... กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ...
ความเร่าร้อนทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
ดับแล้ว รวมความว่า ส่วนภิกษุผู้สงบ ดับกิเลสแล้ว
คำว่า เราเป็นดังนี้ ในคำว่า ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า เราเป็นดังนี้
เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร
เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า เราเป็นดังนี้ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับ
บทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลาย อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็น
ผู้อวด เป็นผู้โอ้อวด คือ ย่อมอวด ย่อมโอ้อวดว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง
สมบูรณ์ด้วยวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วย
โคตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มี
รูปงามบ้าง ... เป็นผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ภิกษุนี้ย่อมไม่อวด ไม่
โอ้อวด คือ เป็นผู้งด งดเว้น เว้นขาด ออก สลัดออก หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว
กับความโอ้อวด มีใจเป็นอิสระ(จากกิเลส)อยู่ รวมความว่า ไม่โอ้อวดในศีลทั้งหลายว่า
เราเป็นดังนี้
ว่าด้วยผู้มีอริยธรรม
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มี
อริยธรรม อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์ ฉลาดในธาตุ ฉลาดในอายตนะ ฉลาดใน
ปฏิจจสมุปบาท ฉลาดในสติปัฏฐาน ฉลาดในสัมมัปปธาน ฉลาดในอิทธิบาท ฉลาด
ในอินทรีย์ ฉลาดในพละ ฉลาดในโพชฌงค์ ฉลาดในมรรค ฉลาดในผล ฉลาดใน
นิพพาน ผู้ฉลาดเหล่านั้น ย่อมเรียก คือ กล่าว บอก แสดง ชี้แจง อย่างนี้ว่า
"นี้เป็นธรรมของอริยชน นี้มิใช่ธรรมของอนริยชน นี้เป็นธรรมของบัณฑิต นี้มิใช่
ธรรมของคนพาล นี้เป็นธรรมของสัตบุรุษ นี้มิใช่ธรรมของอสัตบุรุษ" รวมความว่า
ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกภิกษุนั้นว่า ผู้มีอริยธรรม


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :85 }