เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
รูปงามบ้าง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่
การงานบ้าง สมบูรณ์ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง
สมบูรณ์ด้วยความคงแก่เรียนบ้าง สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ออกบวชจากตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลใหญ่บ้าง
ออกบวชจากตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง ออกบวชจากตระกูลมีโภคะมากบ้าง เป็น
ผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำ
พระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาต
เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็น
ผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้
จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติบ้าง รวมความว่า ไม่มีใครถาม ก็บอก ... แก่บุคคลเหล่าอื่น
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกสัตว์เกิดนั้นว่า ผู้ไม่มี
อริยธรรม อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์1 ผู้ฉลาดในธาตุ2 ผู้ฉลาดในอายตนะ3
ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท4 ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน5 ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน6 ผู้ฉลาด

เชิงอรรถ :
1 ขันธ์ หมายถึงขันธ์ 5 คือ (1) รูปขันธ์ (2) เวทนาขันธ์ (3) สัญญาขันธ์ (4) สังขารขันธ์ (5) วิญญาณขันธ์
(ขุ.ม.อ. 17/196)
2 ธาตุ หมายถึงธาตุ 4 คือ (1) ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) (2) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) (3) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
(4) วาโยธาตุ (ธาตุลม) (ขุ.ม.อ. 17/196)
3 อายตนะ หมายถึงอายตนะ 12 ดูเชิงอรรถข้อ 7/36
4 ปฏิจจสมุปบาท ดูรายละเอียดข้อ 27/113
5 สติปัฏฐาน หมายถึงสติปัฏฐาน 4 ดูรายละเอียดข้อ 3/12 และ ที.ม. 10/289/185-186
6 สัมมัปปธาน หมายถึงสัมมัปปธาน 4 คือ (1) สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น
(2) ปหานปธาน เพียรกำจัดบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (3) ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น (4) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป (ที.ปา.
11/306/198)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :81 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ในอิทธิบาท1 ผู้ฉลาดในอินทรีย์2 ผู้ฉลาดในพละ3 ผู้ฉลาดในโพชฌงค์4 ผู้ฉลาด
ในมรรค5 ผู้ฉลาดในผล6 ผู้ฉลาดในนิพพาน7 ผู้ฉลาดเหล่านั้นเรียกอย่างนี้ คือ พูด
บอก แสดง ชี้แจงอย่างนี้ว่า นี้เป็นธรรมของผู้มิใช่อริยะ นี้มิใช่ธรรมของผู้เป็นอริยะ
นี้เป็นธรรมของพวกคนพาล นี้มิใช่ธรรมของบัณฑิต นี้เป็นธรรมของอสัตบุรุษ นี้มิใช่
ธรรมของสัตบุรุษ รวมความว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกสัตว์เกิดนั้นว่า ผู้ไม่มีอริยธรรม
คำว่า สัตว์เกิดใดกล่าวถึงตัวเองเท่านั้น อธิบายว่า ตนเอง ตรัสเรียกว่า
ตัวเอง
คำว่า กล่าวถึงตัวเองเท่านั้น อธิบายว่า ย่อมกล่าวถึง คือ พูด บอก แสดง
ชี้แจงถึงตนเองเท่านั้นว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง สมบูรณ์ด้วยวัตรบ้าง
สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วยโคตรบ้าง สมบูรณ์ด้วย
ความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มีรูปงามบ้าง สมบูรณ์ด้วย
ทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่การงานบ้าง สมบูรณ์ด้วย
หลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง สมบูรณ์ด้วยความคงแก่เรียนบ้าง

เชิงอรรถ :
1 อิทธิบาท หมายถึงอิทธิบาท 4 คือ (1) ฉันทะ (2) วิริยะ (3) จิตตะ (4) วิมังสา (ที.ปา. 11/306/198)
2 อินทรีย์ หมายถึงอินทรีย์ 5 คือ (1) สัทธินทรีย์ อินทรีย์คือความเชื่อ (2) วิริยินทรีย์ อินทรีย์คือความเพียร
(3) สตินทรีย์ อินทรีย์คือความระลึกได้ (4) สมาธินทรีย์ อินทรีย์คือความตั้งจิตมั่น (5) ปัญญินทรีย์
อินทรีย์คือความรู้ทั่วชัด (ที.ปา. 11/320/212)
3 พละ หมายถึงพละ 5 (ธรรมอันเป็นกำลัง) คือ (1) สัทธา (2) วิริยะ (3) สติ (4) สมาธิ (5) ปัญญา
(องฺ.ปญฺจก. 22/13/9)
4 โพชฌงค์ หมายถึงโพชฌงค์ 7 (ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้) คือ (1) สติ ความระลึกได้ (2) ธัมมวิจยะ
ความเลือกเฟ้น (3) วิริยะ ความเพียร (4) ปีติ ความอิ่มใจ (5) ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ (6) สมาธิ
ความตั้งจิตมั่น (7) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง (ที.ปา. 11/330/221)
5 มรรค หมายถึงมรรค 4 (ทางเข้าถึงความเป็นอริยบุคคล) คือ (1) โสตาปัตติมรรค (2) สกทาคามิมรรค
(3) อนาคามิมรรค (4) อรหัตตมรรค (อภิ.วิ.(แปล) 35/807/519)
6 ผล หมายถึงผล 4 (ผลที่เกิดสืบเนื่องจากการละกิเลสได้ด้วยมรรค) คือ (1) โสตาปัตติผล (2) สกทาคามิ-
ผล (3) อนาคามิผล (4) อรหัตตผล (อภิ.วิ.(แปล) 35/807/519)
7 นิพพาน หมายถึงสภาวะที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว ดูเทียบนิพพานในข้อ 19/88

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :82 }