เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราก็จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เลย แม้การสมาทานความเพียร
อย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราก็จักไม่ลุกจากที่นั่งนี้ ไม่ลงจากลานจงกรม ไม่ออกจาก
วิหาร ไม่ออกจากเรือนหลังคาด้านเดียว ไม่ออกจากปราสาท ไม่ออกจากเรือนโล้น
ไม่ออกจากถ้ำ ไม่ออกจากที่หลีกเร้น ไม่ออกจากกุฎี ไม่ออกจากเรือนยอด ไม่ออก
จากป้อม ไม่ออกจากโรงกลม ไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง
ไม่ออกจากมณฑป ไม่ออกจากโคนไม้เลย แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็
เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้ง
ซึ่งอริยธรรมเช้าวันนี้เอง แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่ง
อริยธรรม ในเที่ยงนี้ ... เย็นนี้ ... ก่อนภัต ... หลังภัต ... ปฐมยาม... มัชฌิมยาม ...
ปัจฉิมยาม ... ข้างแรม ... ข้างขึ้น ... ฤดูฝน ... ฤดูหนาว ... ฤดูร้อน ... ปฐมวัย ...
มัชฌิมวัย ... ปัจฉิมวัย แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า สัตว์เกิดใด ... ศีลวัตรของตน
คำว่า แก่บุคคลเหล่าอื่น ในคำว่า ไม่มีใครถาม ก็บอก ... แก่บุคคลเหล่าอื่น
ได้แก่ บุคคลเหล่าอื่น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา มนุษย์
คำว่า ไม่มีใครถาม ได้แก่ ไม่มีใครถาม คือ ไม่มีใครไต่ถาม ไม่มีใครขอร้อง
ไม่มีใครเชื้อเชิญ ไม่มีใครเลื่อมใส
คำว่า บอก ได้แก่ บอก ศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน อธิบายว่า ย่อมบอก คือ
พูด กล่าว แสดง ชี้แจง ศีล วัตร หรือศีลวัตรของตนว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง
สมบูรณ์ด้วยวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วย
โคตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :80 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
รูปงามบ้าง สมบูรณ์ด้วยทรัพย์บ้าง สมบูรณ์ด้วยการศึกษาบ้าง สมบูรณ์ด้วยหน้าที่
การงานบ้าง สมบูรณ์ด้วยหลักแห่งศิลปวิทยาบ้าง สมบูรณ์ด้วยวิทยฐานะบ้าง
สมบูรณ์ด้วยความคงแก่เรียนบ้าง สมบูรณ์ด้วยปฏิภาณบ้าง สมบูรณ์ด้วยสิ่งอื่น
นอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง ออกบวชจากตระกูลสูงบ้าง ออกบวชจากตระกูลใหญ่บ้าง
ออกบวชจากตระกูลมีทรัพย์มากบ้าง ออกบวชจากตระกูลมีโภคะมากบ้าง เป็น
ผู้มีชื่อเสียงมียศกว่าคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายบ้าง เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารบ้าง เป็นผู้ทรงจำพระสูตรบ้าง เป็นผู้ทรงจำ
พระวินัยบ้าง เป็นพระธรรมกถึกบ้าง เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือบิณฑบาต
เป็นวัตรบ้าง เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรบ้าง เป็น
ผู้เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้งดอาหารมื้อหลังเป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้ถือการนั่งเป็นวัตรบ้าง เป็นผู้ถือการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตรบ้าง
เป็นผู้ได้ปฐมฌานบ้าง เป็นผู้ได้ทุติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้ตติยฌานบ้าง เป็นผู้ได้
จตุตถฌานบ้าง เป็นผู้ได้อากาสานัญจายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้วิญญาณัญจายตน-
สมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้อากิญจัญญายตนสมาบัติบ้าง เป็นผู้ได้เนวสัญญานา-
สัญญายตนสมาบัติบ้าง รวมความว่า ไม่มีใครถาม ก็บอก ... แก่บุคคลเหล่าอื่น
คำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลาย ในคำว่า ผู้ฉลาดทั้งหลายเรียกสัตว์เกิดนั้นว่า ผู้ไม่มี
อริยธรรม อธิบายว่า ผู้ฉลาดในขันธ์1 ผู้ฉลาดในธาตุ2 ผู้ฉลาดในอายตนะ3
ผู้ฉลาดในปฏิจจสมุปบาท4 ผู้ฉลาดในสติปัฏฐาน5 ผู้ฉลาดในสัมมัปปธาน6 ผู้ฉลาด

เชิงอรรถ :
1 ขันธ์ หมายถึงขันธ์ 5 คือ (1) รูปขันธ์ (2) เวทนาขันธ์ (3) สัญญาขันธ์ (4) สังขารขันธ์ (5) วิญญาณขันธ์
(ขุ.ม.อ. 17/196)
2 ธาตุ หมายถึงธาตุ 4 คือ (1) ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) (2) อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ) (3) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
(4) วาโยธาตุ (ธาตุลม) (ขุ.ม.อ. 17/196)
3 อายตนะ หมายถึงอายตนะ 12 ดูเชิงอรรถข้อ 7/36
4 ปฏิจจสมุปบาท ดูรายละเอียดข้อ 27/113
5 สติปัฏฐาน หมายถึงสติปัฏฐาน 4 ดูรายละเอียดข้อ 3/12 และ ที.ม. 10/289/185-186
6 สัมมัปปธาน หมายถึงสัมมัปปธาน 4 คือ (1) สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น
(2) ปหานปธาน เพียรกำจัดบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (3) ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่
เกิดให้เกิดขึ้น (4) อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป (ที.ปา.
11/306/198)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :81 }