เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ชื่อว่าศีล การสมาทาน ชื่อว่าวัตร ชื่อว่าศีลเพราะมีความหมายว่า สังวร ชื่อว่าวัตร
เพราะมีความหมายว่าสมาทาน นี้ตรัสเรียกว่าศีลและวัตร
วัตร ไม่ใช่ศีล เป็นอย่างไร
คือ ธุดงค์ 8 ข้อ ได้แก่
1. อารัญญิกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ป่าเป็นวัตร)
2. ปิณฑปาติกังคธุดงค์(สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร)
3. ปังสุกูลิกังคธุดงค์(สมาทานการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร)
4. เตจีวริกังคธุดงค์(สมาทานการทรงไตรจีวรเป็นวัตร)
5. สปทานจาริกังคธุดงค์(สมาทานการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็น
วัตร)
6. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์(สมาทานการงดฉันอาหารมื้อหลังเป็นวัตร)
7. เนสัชชิกังคธุดงค์(สมาทานการนั่งเป็นวัตร)
8. ยถาสันถติกังคธุดงค์(สมาทานการอยู่ในเสนาสนะตามที่เขาจัดให้เป็นวัตร)
นี้เรียกว่าวัตร ไม่ใช่ศีล แม้การสมาทานความเพียรก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลือ
อยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามทีเถิด ผลใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ
ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า)ไม่
บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุดความเพียร แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า
วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า
เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร
ทั้งจะไม่เอนกายนอน1
การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล

เชิงอรรถ :
1 ขุ.เถร.(แปล) 26/223/374

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :79 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราก็จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เลย แม้การสมาทานความเพียร
อย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย
เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราก็จักไม่ลุกจากที่นั่งนี้ ไม่ลงจากลานจงกรม ไม่ออกจาก
วิหาร ไม่ออกจากเรือนหลังคาด้านเดียว ไม่ออกจากปราสาท ไม่ออกจากเรือนโล้น
ไม่ออกจากถ้ำ ไม่ออกจากที่หลีกเร้น ไม่ออกจากกุฎี ไม่ออกจากเรือนยอด ไม่ออก
จากป้อม ไม่ออกจากโรงกลม ไม่ออกจากเรือนที่มีเครื่องกั้น ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง
ไม่ออกจากมณฑป ไม่ออกจากโคนไม้เลย แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็
เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้ง
ซึ่งอริยธรรมเช้าวันนี้เอง แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่ง
อริยธรรม ในเที่ยงนี้ ... เย็นนี้ ... ก่อนภัต ... หลังภัต ... ปฐมยาม... มัชฌิมยาม ...
ปัจฉิมยาม ... ข้างแรม ... ข้างขึ้น ... ฤดูฝน ... ฤดูหนาว ... ฤดูร้อน ... ปฐมวัย ...
มัชฌิมวัย ... ปัจฉิมวัย แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้ก็เรียกว่า วัตร ไม่ใช่ศีล
คำว่า สัตว์เกิด ได้แก่ สัตว์ นรชน มานพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด
สัตว์เกิด ผู้เป็นไปตามกรรม มนุษย์ รวมความว่า สัตว์เกิดใด ... ศีลวัตรของตน
คำว่า แก่บุคคลเหล่าอื่น ในคำว่า ไม่มีใครถาม ก็บอก ... แก่บุคคลเหล่าอื่น
ได้แก่ บุคคลเหล่าอื่น คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต
เทวดา มนุษย์
คำว่า ไม่มีใครถาม ได้แก่ ไม่มีใครถาม คือ ไม่มีใครไต่ถาม ไม่มีใครขอร้อง
ไม่มีใครเชื้อเชิญ ไม่มีใครเลื่อมใส
คำว่า บอก ได้แก่ บอก ศีล วัตร หรือศีลวัตรของตน อธิบายว่า ย่อมบอก คือ
พูด กล่าว แสดง ชี้แจง ศีล วัตร หรือศีลวัตรของตนว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลบ้าง
สมบูรณ์ด้วยวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยศีลวัตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยชาติบ้าง สมบูรณ์ด้วย
โคตรบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นบุตรของผู้มีตระกูลบ้าง สมบูรณ์ด้วยความเป็นผู้มี


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :80 }