เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
นั้น ๆ โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ... ว่าเราพึงทำวิมุตติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์
โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาวิมุตติขันธ์ในข้อนั้น ๆ โดยอุบาย
อย่างไร ดังนี้ ... คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน
ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร
แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า เราพึงทำวิมุตติญาณทัสสน-
ขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์โดยอุบายอย่างไร หรือพึงใช้ปัญญาตามรักษาวิมุตติ-
ญาณทัสสนขันธ์ที่บริบูรณ์ในข้อนั้น ๆ โดยอุบายอย่างไร ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทใน
กุศลธรรมทั้งหลาย คือ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขยัน
ความไม่ถอยกลับ สติสัมปชัญญะ ความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส ความเพียร
แรงกล้า ความตั้งใจ ความประกอบเนือง ๆ ด้วยคิดว่า "เราพึงกำหนดรู้ทุกข์ที่ยังมิได้
กำหนดรู้ พึงละกิเลสที่ยังมิได้ละ พึงเจริญมรรคที่ยังมิได้เจริญ หรือพึงทำให้แจ้ง
นิโรธที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง โดยอุบายอย่างไร"ดังนี้ ชื่อว่าไม่ประมาทในกุศลธรรม
ทั้งหลาย รวมความว่า ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท ประพฤติอยู่
คำว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า อธิบายว่า ไม่หวังโลกนี้ คืออัตภาพ
ของตน ไม่หวังโลกหน้า คืออัตภาพของผู้อื่น ไม่หวังโลกนี้ คือรูป เวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณของตน ไม่หวังโลกหน้า คือรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ
วิญญาณของผู้อื่น ไม่หวังโลกนี้ คืออายตนะภายใน 6 ไม่หวังโลกหน้า คืออายตนะ
ภายนอก 6 ไม่หวังโลกนี้ คือมนุษยโลก ไม่หวังโลกหน้า คือเทวโลก ไม่หวังโลกนี้
คือ กามธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คือรูปธาตุ อรูปธาตุ ไม่หวังโลกนี้ คือกามธาตุ
รูปธาตุ ไม่หวังโลกหน้า คืออรูปธาตุ ไม่หวัง คือ ไม่ต้องการ ไม่ยินดี ไม่ปรารถนา
ไม่มุ่งหมาย ไม่มุ่งหวังคติ การถือกำเนิด ปฏิสนธิ ภพ สงสาร หรือ วัฏฏะต่อไป
รวมความว่า ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย
พึงข้ามโอฆะได้ ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท
ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
คุหัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :73 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส
3. ทุฏฐัฏฐกสุตตนิทเทส1
อธิบายทุฏฐัฏฐกสูตร
ว่าด้วยเดียรถีย์ประทุษร้ายมุนี
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายทุฏฐัฏฐกสูตร ดังต่อไปนี้
[15] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่วกล่าวร้าย
บุคคลเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็กล่าวร้ายด้วย
แต่มุนีไม่ใส่ใจคำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น มุนีจึงไม่มีกิเลสเครื่องตรึงจิตในที่ไหนๆ
คำว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่วกล่าวร้าย อธิบายว่า เดียรถีย์เหล่านั้น
มีใจชั่ว คือมีใจร้าย มีใจเห็นผิด มีใจหลงผิด มีใจขุ่น มีใจขุ่นเคือง มีใจอาฆาต
มีใจอาฆาตแค้น กล่าวร้าย คือ กล่าวติเตียนพระผู้มีพระภาค และภิกษุสงฆ์ด้วย
เรื่องไม่จริง รวมความว่า เดียรถีย์บางพวกมีใจชั่วกล่าวร้าย
คำว่า บุคคลเหล่าอื่นเข้าใจว่าจริง ก็กล่าวร้ายด้วย อธิบายว่า พวกคนที่
เชื่อถือเดียรถีย์เหล่านั้น กำหนด น้อมใจเชื่อ เข้าใจว่าจริง สำคัญว่าจริง เข้าใจว่า
เป็นจริง สำคัญว่าเป็นจริง เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้น สำคัญว่าเป็นเช่นนั้น เข้าใจว่า
จริงแท้ สำคัญว่าจริงแท้ เข้าใจว่าไม่ผิด สำคัญว่าไม่ผิด จึงกล่าวร้าย คือ กล่าว
ติเตียนพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ด้วยเรื่องไม่จริง รวมความว่า บุคคลเหล่าอื่น
เข้าใจว่าจริง ก็กล่าวร้ายด้วย
คำว่า แต่มุนีไม่ใส่ใจคำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น อธิบายว่า คำกล่าวร้ายนั้น
เกิดแล้ว คือ เกิดขึ้นแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดขึ้นแล้ว ปรากฏแล้ว ได้แก่ เสียง
ประกาศจากบุคคลอื่น คำด่า คำติเตียนพระผู้มีพระภาคและภิกษุสงฆ์ด้วยเรื่อง
ไม่จริง รวมความว่า คำกล่าวร้ายที่เกิดขึ้น

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/787-794/488-490

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :74 }