เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
(การพูดเท็จ) ไม่ทำความงดเว้นจากมุสาวาท เราทำปิสุณาวาจา(การพูดส่อเสียด)
ไม่ทำความงดเว้น จากปิสุณาวาจา เราทำผรุสวาจา (การพูดหยาบคาย) ไม่ทำ
ความงดเว้นจากผรุสวาจา เราทำสัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ) ไม่ทำความงดเว้น
จากสัมผัปปลาปะ เราทำอภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้ของเขา) ไม่ทำอนภิชฌา เรา
ทำพยาบาท(ความคิดปองร้าย) ไม่ทำอัพยาบาท เราทำมิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด)
ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ นักปราชญ์ชื่อว่าติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
อีกนัยหนึ่ง นักปราชญ์ย่อมติเตียนตนว่า เราไม่รักษาศีลให้บริบูรณ์ ไม่สำรวม
ในอินทรีย์ทั้ง 6 ไม่รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ไม่ประกอบความเพียรเครื่อง
ตื่นอยู่เสมอ ไม่หมั่นประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ ไม่เจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่เจริญ
สัมมัปปธาน 4 ไม่เจริญอิทธิบาท 4 ไม่เจริญอินทรีย์ 5 ไม่เจริญพละ 5 ไม่เจริญ
โพชฌงค์ 7 ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ไม่ละสมุทัย ไม่เจริญ
มรรค ไม่ทำให้แจ้งนิโรธ นักปราชญ์ชื่อว่าติเตียนตนเพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้
นักปราชญ์ไม่ทำ คือ ไม่ให้เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ไม่ให้บังเกิด ไม่ให้บังเกิดขึ้นซึ่ง
กรรมที่ติเตียนตน ด้วยอาการอย่างนี้ รวมความว่า นักปราชญ์ติเตียนกรรมใดด้วย
ตนก็ไม่ทำกรรมนั้น
คำว่า นักปราชญ์ ... ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว อธิบายว่า
คำว่า ความติด ได้แก่ ความติด 2 อย่าง คือ (1) ความติดด้วยอำนาจตัณหา
(2) ความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ ... นี้ชื่อว่าความติดด้วยอำนาจตัณหา ... นี้ชื่อว่าความ
ติดด้วยอำนาจทิฏฐิ1
คำว่า นักปราชญ์ ได้แก่ นักปราชญ์ คือ ผู้เป็นบัณฑิต ผู้มีปัญญา ผู้มีปัญญา
เครื่องตรัสรู้ ผู้มีญาณ ผู้มีปัญญาแจ่มแจ้ง ผู้มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส
นักปราชญ์ละความติดด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้งความติดด้วยอำนาจทิฏฐิ
ได้แล้ว ไม่ติด คือ ไม่ติดพัน ไม่เข้าไปติดในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส
โผฏฐัพพะที่รับรู้และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง คือ เป็นผู้ไม่ติดแล้ว ไม่ติดพันแล้ว

เชิงอรรถ :
1 เทียบกับความในข้อ 12/58

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :66 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ไม่เข้าไปติดแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้ว มีใจเป็น
อิสระ(จากความติด)อยู่ รวมความว่า นักปราชญ์ ... ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและ
ได้ยินแล้ว ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
นักปราชญ์ พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ก็ไม่ติดใจ
ติเตียนกรรมใดด้วยตน ก็ไม่ทำกรรมนั้น
ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว
[14] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
มุนีกำหนดรู้สัญญาแล้ว ไม่เข้าไปติดในความยึดถือทั้งหลาย
พึงข้ามโอฆะได้ ถอนลูกศรได้แล้ว ไม่ประมาท
ประพฤติอยู่ ย่อมไม่หวังโลกนี้และโลกหน้า
คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ... พึงข้ามโอฆะได้ อธิบายว่า
คำว่า สัญญา ได้แก่ กามสัญญา พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา เนกขัมม-
สัญญา อัพยาบาทสัญญา อวิหิงสาสัญญา รูปสัญญา สัททสัญญา คันธสัญญา
รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธัมมสัญญา ความจำได้ กิริยาที่จำได้ ภาวะที่จำได้
เห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่าสัญญา
คำว่า กำหนดรู้สัญญาแล้ว ได้แก่ กำหนดรู้สัญญา ด้วยปริญญา 3 อย่าง
คือ (1) ญาตปริญญา (2) ตีรณปริญญา (3) ปหานปริญญา
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ มุนีรู้จักสัญญา คือรู้ เห็นว่า "นี้กามสัญญา นี้พยาบาทสัญญา นี้วิหิงสา-
สัญญา นี้เนกขัมมสัญญา นี้อัพยาบาทสัญญา นี้อวิหิงสาสัญญา นี้รูปสัญญา
นี้สัททสัญญา นี้คันธสัญญา นี้รสสัญญา นี้โผฏฐัพพสัญญา นี้ธัมมสัญญา"
นี้ชื่อว่าญาตปริญญา
ตีรณปริญญา เป็นอย่างไร
คือ มุนีทำสิ่งที่รู้แล้วให้ปรากฏอย่างนี้แล้ว พิจารณาสัญญา คือ พิจารณาโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นของลำบาก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :67 }