เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่
เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว
นรชนเห็นโทษนี้แล้ว ก็อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย
พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
[13] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
นักปราชญ์ พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ก็ไม่ติดใจ
ติเตียนกรรมใดด้วยตน ก็ไม่ทำกรรมนั้น
ไม่ติดในสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินแล้ว
คำว่า พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน อธิบายว่า
คำว่า ส่วนสุด ได้แก่ ผัสสะ เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งผัสสะเป็นส่วน
สุดอีกด้านหนึ่ง อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง สุขเวทนา
เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง นามเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง
รูปเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง อายตนะภายใน 6 เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อายตนะภายนอก
6 เป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ความถือตัวเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดแห่งความถือ
ตัวเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ ความกำหนัด
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเพลิดเพลินด้วยอำนาจความใคร่ ความทะยานอยาก
ด้วยอำนาจความใคร่ ความเยื่อใยด้วยอำนาจความใคร่ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจ
ความใคร่ ความสยบด้วยอำนาจความใคร่ ความติดใจด้วยอำนาจความใคร่ ห้วงน้ำ
คือความใคร่ กิเลสเครื่องประกอบคือความใคร่ ความยึดถือด้วยอำนาจความใคร่
กิเลสเครื่องกั้นจิตคือความพอใจด้วยอำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย
คำว่า พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ พึงกำจัด คือ ขจัด
ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกซึ่งความพอใจในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน
รวมความว่า พึงกำจัดความพอใจในส่วนสุดทั้ง 2 ด้าน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :62 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ว่าด้วยผัสสะต่าง ๆ
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว ก็ไม่ติดใจ อธิบายว่า
คำว่า ผัสสะ1 ได้แก่ จักขุสัมผัส(สัมผัสทางตา) โสตสัมผัส(สัมผัสทางหู)
ฆานสัมผัส(สัมผัสทางจมูก) ชิวหาสัมผัส(สัมผัสทางลิ้น) กายสัมผัส(สัมผัสทางกาย)
มโนสัมผัส(สัมผัสทางใจ) อธิวจนสัมผัส(สัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร) ปฏิฆสัมผัส
(สัมผัสแห่งการกระทบใจ) สุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา) ทุกข-
เวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา) อทุกขมสุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้ง
แห่งอทุกขมสุขเวทนา) ผัสสะที่เป็นกุศล ผัสสะที่เป็นอกุศล ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต
ผัสสะที่เป็นกามาวจร ผัสสะที่เป็นรูปาวจร ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร สุญญตผัสสะ
อนิมิตตผัสสะ อัปปณิหิตผัสสะ ผัสสะที่เป็นโลกิยะ ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ ผัสสะที่
เป็นอดีต ผัสสะที่เป็นอนาคต ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน ผัสสะ ความถูกต้อง กิริยาที่
ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ผัสสะ

ว่าด้วยปริญญา 3
คำว่า กำหนดรู้ผัสสะแล้ว อธิบายว่า กำหนดรู้ผัสสะด้วยปริญญา 3 คือ
(1) ญาตปริญญา(การกำหนดรู้ขั้นรู้จัก) (2) ตีรณปริญญา(การกำหนดรู้ขั้นพิจารณา)
(3) ปหานปริญญา(การกำหนดรู้ขั้นละ)
ญาตปริญญา เป็นอย่างไร
คือ นักปราชญ์รู้จักผัสสะ คือ รู้ เห็นว่า "นี้จักขุสัมผัส นี้โสตสัมผัส นี้ฆานสัมผัส
นี้ชิวหาสัมผัส นี้กายสัมผัส นี้มโนสัมผัส นี้อธิวจนสัมผัส นี้ปฏิฆสัมผัส นี้ผัสสะเป็น
ที่ตั้งแห่งสุขเวทนา นี้ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา นี้ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุข-
เวทนา นี้ผัสสะที่เป็นกุศล นี้ผัสสะที่เป็นอกุศล นี้ผัสสะที่เป็นอัพยากฤต นี้ผัสสะที่

เชิงอรรถ :
1 ผัสสะ หมายถึงความสัมผัสอารมณ์ที่มากระทบ เช่น ตากระทบกับรูป หรือตาเห็นรูป เรียกว่า จักขุสัมผัส
เป็นต้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :63 }