เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
11. จิตของภิกษุผู้เป็นพระอนาคามี ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจาก
กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อย่างละเอียด กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย
อย่างละเอียด และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกับกามราคสังโยชน์เป็นต้นนั้น
12. จิตของภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์ ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากรูปราคะ
อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย
เหล่ากิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียวกับรูปราคะเป็นต้นนั้น และนิมิตทั้งปวง
ในภายนอก รวมความว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว

ว่าด้วยกาลแห่งสมถะและวิปัสสนา
คำว่า ตามกาล ในคำว่า ภิกษุนั้นเมื่อกำหนดพิจารณาธรรมโดยชอบ
ตามกาล อธิบายว่า เมื่อจิตฟุ้งซ่าน ก็เป็นกาลแห่งสมถะ เมื่อจิตตั้งมั่น ก็เป็นกาล
แห่งวิปัสสนา (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
โยคี1ใด ยกจิตไว้ในกาล(หนึ่ง)
ข่มจิตในอีกกาลหนึ่ง ทำจิตให้รื่นเริงตามกาล
ตั้งจิตให้มั่นในกาลเพ่งดูจิตตามกาล
โยคีนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในกาล
การยกจิต ควรมีในกาลไหน
การข่มจิตควรมีในกาลไหน

เชิงอรรถ :
1 โยคี หมายถึงผู้ประกอบความเพียรในกัมมัฏฐาน เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมในการประคองจิต ข่มจิต ทำจิต
ให้ร่าเริง จิตตั้งมั่น และวางเฉย
ประคองจิตให้ตั้งอยู่ด้วย ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์
ข่มจิต เมื่อจิตฟุ้งซ่านก็ข่มด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
ทำจิตให้ร่าเริง ด้วยการพิจารณาสังเวควัตถุ 8 ประการ (ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ทุกข์ในอบาย ทุกข์มี
วัฏฏเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏเป็นมูลในอนาคต ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน) หรือด้วย
การระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
จิตตั้งมั่น ทำจิตให้เว้นจากความหดหู่และฟุ้งซ่าน ด้วยผูกใจไว้กับวิริยะและสมาธิหรืออุปจารสมาธิและ
อัปปนาสมาธิ
วางเฉย พระโยคีรู้ความหดหู่ ฟุ้งซ่านแห่งจิต จิตอภิรมย์ในอารมณ์กสิณเป็นต้น หรือจิตสัมปยุตด้วยฌาน
แล้ว ไม่พึงขวนขวายในการประคองจิต ข่มจิต ทำจิตให้ร่าเริง ควรกระทำการวางเฉยอย่างเดียว (ขุ.ม.อ.
210/479-480)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :617 }