เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า ภิกษุ ในคำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว ได้แก่
ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นพระเสขะ
คำว่า เป็นผู้มีสติ ได้แก่ สติ ความตามระลึกถึง ... สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์
เอกายนมรรค นี้ ตรัสเรียกว่า สติ ภิกษุประกอบพร้อมด้วยสตินี้ ... ภิกษุนั้นพระผู้มี
พระภาคตรัสเรียกว่า เป็นผู้มีสติ

ว่าด้วยจิตหลุดพ้น 12 ขั้น
คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีจิตหลุดพ้นด้วยดีแล้ว อธิบายว่า
1. จิตของภิกษุผู้บรรลุปฐมฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากนิวรณ์
ทั้งหลาย
2. จิตของภิกษุผู้บรรลุทุติยฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากวิตก
และวิจาร
3. จิตของภิกษุผู้บรรลุตติยฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากปีติ
4. จิตของภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌาน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจากสุข
และทุกข์
5. จิตของภิกษุผู้บรรลุอากาสานัญจายตนสมาบัติ ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้น
ด้วยดีจากรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา
6. จิตของภิกษุผู้บรรลุวิญญาณัญจายตนสมาบัติ... จากอากาสานัญจายตน-
สัญญา
7. จิตของภิกษุผู้บรรลุอากิญจัญญายตนสมาบัติ ... จากวิญญาณัญจายตน-
สัญญา
8. จิตของภิกษุผู้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็พ้น หลุดพ้น
หลุดพ้นด้วยดีจากอากิญจัญญายตนสัญญา
9. จิตของภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจาก
สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย และ
กิเลสที่ตั้งอยู่ฝ่ายเดียวกับวิจิกิจฉาเป็นต้นนั้น
10. จิตของภิกษุผู้เป็นพระสกทาคามี ก็พ้น หลุดพ้น หลุดพ้นด้วยดีจาก
กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อย่างหยาบ และกิเลสที่ตั้งอยู่ในฝ่ายเดียว
กับกามราคานุสัยเป็นต้นนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :616 }