เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ว่าด้วยธุลี 5 อย่าง
คำว่า ลำดับ ในคำว่า ลำดับต่อไป ... คือธุลี 5 อย่างในโลก เป็นบทสนธิ
เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ
สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ลำดับ นี้ เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า คือธุลี 5 อย่าง ได้แก่
1. ธุลีที่เกิดจากรูป 2. ธุลีที่เกิดจากเสียง
3. ธุลีที่เกิดจากกลิ่น 4. ธุลีที่เกิดจากรส
5. ธุลีที่เกิดจากโผฏฐัพพะ
อีกนัยหนึ่ง (ได้แก่ธุลีที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
ราคะ เราเรียกว่า ธุลี
เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลีไม่
คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของราคะ
บัณฑิตเหล่านั้นละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีได้
โทสะ เราเรียกว่า ธุลี
เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลีไม่
คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ
บัณฑิตเหล่านั้นละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีได้
โมหะ เราเรียกว่า ธุลี
เราหาเรียกละอองว่า เป็นธุลีไม่
คำว่า ธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ
บัณฑิตเหล่านั้นละธุลีนี้แล้ว
ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลีได้1

เชิงอรรถ :
1 ขุ.จู. 30/74/162-163

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :613 }