เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า ภิกษุผู้ถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงมีสติชื่นชม ทำลายความกระด้างใน
เพื่อนพรหมจารี อธิบายว่า
คำว่า เพื่อนพรหมจารี ได้แก่ คนที่มีกรรม(ทางวินัย) อย่างเดียวกัน มีอุทเทส
อย่างเดียวกัน มีสิกขาเสมอกัน
คำว่า ทำลายความกระด้างในเพื่อนพรหมจารี อธิบายว่า พึงทำลายความ
เป็นผู้มีจิตถูกโทสะกระทบ ความเป็นผู้มีจิตกระด้างในเพื่อนพรหมจารี คือ พึงทำลาย
ความกระด้างแห่งจิต 5 ประการบ้าง ทำลายความกระด้างแห่งจิต 3 ประการบ้าง
ได้แก่ พึงทุบ ทำลาย กำจัดความกระด้างด้วยอำนาจราคะ ความกระด้างด้วยอำนาจ
โทสะ ความกระด้างด้วยอำนาจโมหะ รวมความว่า ทำลายความกระด้างในเพื่อน
พรหมจารี
คำว่า พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต อธิบายว่า พึง
เปล่งวาจาที่เกิดจากญาณอันประกอบด้วยเหตุ ประกอบด้วยผล คือ พึงเปล่ง เปล่ง
ออก เปล่งออกด้วยดีซึ่งวาจา มีที่อ้างอิง มีจุดจบสิ้น ตามกาลอันควร รวมความว่า
พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล
คำว่า ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต อธิบายว่า ขอบเขต ได้แก่ ขอบเขต 2
อย่าง คือ (1) ขอบเขตแห่งกาล (2) ขอบเขตแห่งศีล
ขอบเขตแห่งกาล เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุไม่พึงกล่าววาจาเกินกาล ไม่พึงกล่าววาจาเกินขอบเขต ไม่พึงกล่าว
วาจาเกินขอบเขตแห่งกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงกาล ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่
ถึงขอบเขต ไม่พึงกล่าววาจาที่ยังไม่ถึงขอบเขตแห่งกาล (สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสไว้ว่า)
ผู้ใด เมื่อยังไม่ถึงกาลอันควร พูดเกินเวลา
ผู้นั้นย่อมจะถูกฆ่า นอนตายอยู่
เหมือนลูกนกดุเหว่าที่ถูกกาเลี้ยงไว้ ฉะนั้น
นี้ชื่อว่าขอบเขตแห่งกาล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :611 }