เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ทำแต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร
ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก
มุสาวาท ... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ... เราทำแต่
ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความ
งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยายาท
ไม่ทำอัพยาบาท ... เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ" ความคะนอง ความ
เดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้น เพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้1
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เรามิได้
รักษาศีลให้บริบูรณ์ ... เราไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง 6 ... ไม่รู้จักประมาณในการ
บริโภคอาหาร ... ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ... ไม่หมั่นประกอบ
ด้วยสติสัมปชัญญะ ... ไม่เจริญสติปัฏฐาน 4 ... ไม่เจริญสัมมัปปธาน 4 ... ไม่
เจริญอิทธิบาท 4 ... ไม่เจริญอินทรีย์ 5 ... ไม่เจริญพละ 5 ... ไม่เจริญโพชฌงค์ 7 ...
ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ... ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ... ไม่ละทุกขสมุทัย ... ไม่เจริญมรรค
... เราไม่ทำนิโรธ ให้ประจักษ์แจ้ง"
คำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง
อธิบายว่า พึงเข้าไปตัด คือ ตัด ถอน เพิกถอน ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง รวมความว่า พึง
เข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก
ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรม
ที่อาศัยความตรึกและความคะนอง

เชิงอรรถ :
1 ดูคำแปลจากข้อ 85/255

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :609 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
[208] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุผู้ถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงมีสติชื่นชม
ทำลายความกระด้างในเพื่อนพรหมจารี
พึงเปล่งวาจาเป็นกุศล ไม่พึงเปล่งวาจาเกินขอบเขต
ไม่พึงคิดหาเรื่องที่จะว่ากล่าวคน
คำว่า ผู้ถูกตักเตือน ในคำว่า ภิกษุผู้ถูกตักเตือนด้วยวาจา พึงมีสติชื่นชม
อธิบายว่า อุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้ร่วมอุปัชฌาย์ ผู้ร่วมอาจารย์ มิตร เพื่อนเห็น
เพื่อนคบ หรือสหายตักเตือนว่า "ผู้มีอายุ การกระทำของท่านนี้ไม่ควร การกระทำนี้
ยังไม่ถึงแก่ท่าน การกระทำของท่านนี้ ไม่สมควร การกระทำของท่านนี้ ไม่
เหมาะสม" ก็พึงมีสติ พอใจ ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ปรารถนา
มุ่งหมาย มุ่งหวังคำตักเตือนนั้น เปรียบเหมือน สตรีหรือบุรุษที่ยังหนุ่ม ยังสาว
ชอบแต่งตัว อาบน้ำดำหัวแล้ว ได้มาลัยดอกบัว มาลัยดอกมะลิ หรือมาลัยดอก
ลำดวน ก็ใช้ 2 มือรับไว้ เอาขึ้นวางไว้บนศีรษะซึ่งเป็นอวัยวะสูงสุด พึงพอใจ
ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวัง ฉันใด
ภิกษุผู้ถูกตักเตือนนั้นก็พึงมีสติ พอใจ ชอบใจ เบิกบานใจ อนุโมทนา ต้องการ
ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย มุ่งหวังคำตักเตือนนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
(สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)
บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญามักชี้โทษ
มักพูดปรามไว้ เหมือนผู้ชี้บอกขุมทรัพย์
(และ)พึงคบผู้ที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้น เพราะเมื่อคบคนเช่นนั้น
ย่อมมีแต่ความเจริญไม่มีความเสื่อมเลย
ผู้ใดพึงกล่าวสอน พร่ำสอน และห้ามจากความชั่ว
ผู้นั้นย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษทั้งหลาย
แต่ไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษทั้งหลาย1

เชิงอรรถ :
1 ขุ.เถร.(แปล) 26/993-994/502

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :610 }