เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
4. ความตรึกถึงญาติ
5. ความตรึกถึงชนบท
6. ความตรึกถึงเทพเจ้า
7. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น
8. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ
9. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น
เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก 9 อย่าง
กามสัญญาเป็นที่อาศัยแห่งกามวิตก พยาบาทสัญญาเป็นที่อาศัยแห่งพยาบาท-
วิตก วิหิงสาสัญญาเป็นที่อาศัยแห่งวิหิงสาวิตก
อีกนัยหนึ่ง อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อโนตตัปปะ และอุทธัจจะ
เป็นที่อาศัยแห่งวิตก คือ ความตรึก ความดำริทั้งหลาย
คำว่า ความคะนอง อธิบายว่า ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความ
คะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความ
สำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่
มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง
ภาวะที่คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ 2
อย่าง คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ
เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เราทำแต่
กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ... เราทำแต่มโนทุจริต
ไม่ทำมโนสุจริต ... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต ... เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :608 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ทำแต่อทินนาทาน ไม่ทำความงดเว้นจากอทินนาทาน ... เราทำแต่กาเมสุมิจฉาจาร
ไม่ทำความงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ... เราทำแต่มุสาวาท ไม่ทำความงดเว้นจาก
มุสาวาท ... เราทำแต่ปิสุณาวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากปิสุณาวาจา ... เราทำแต่
ผรุสวาจา ไม่ทำความงดเว้นจากผรุสวาจา ... เราทำแต่สัมผัปปลาปะ ไม่ทำความ
งดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ... เราทำแต่อภิชฌา ไม่ทำอนภิชฌา ... เราทำแต่พยายาท
ไม่ทำอัพยาบาท ... เราทำแต่มิจฉาทิฏฐิ ไม่ทำสัมมาทิฏฐิ" ความคะนอง ความ
เดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้น เพราะทำและเพราะไม่ทำ เป็นอย่างนี้1
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เรามิได้
รักษาศีลให้บริบูรณ์ ... เราไม่สำรวมในอินทรีย์ทั้ง 6 ... ไม่รู้จักประมาณในการ
บริโภคอาหาร ... ไม่ประกอบความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ ... ไม่หมั่นประกอบ
ด้วยสติสัมปชัญญะ ... ไม่เจริญสติปัฏฐาน 4 ... ไม่เจริญสัมมัปปธาน 4 ... ไม่
เจริญอิทธิบาท 4 ... ไม่เจริญอินทรีย์ 5 ... ไม่เจริญพละ 5 ... ไม่เจริญโพชฌงค์ 7 ...
ไม่เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ... ไม่กำหนดรู้ทุกข์ ... ไม่ละทุกขสมุทัย ... ไม่เจริญมรรค
... เราไม่ทำนิโรธ ให้ประจักษ์แจ้ง"
คำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง
อธิบายว่า พึงเข้าไปตัด คือ ตัด ถอน เพิกถอน ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง
ความไม่มีอีกซึ่งความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง รวมความว่า พึง
เข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึกและความคะนอง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก
ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรม
ที่อาศัยความตรึกและความคะนอง

เชิงอรรถ :
1 ดูคำแปลจากข้อ 85/255

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :609 }