เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
2. ภิกษุซ่องเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ซ่องเสพ
เจริญ ทำให้มาก ซึ่งทุติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ... ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว ...
จตุตถฌานที่เกิดขึ้นแล้ว รวมความว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็น
อย่างนี้บ้าง
คำว่า ตื่นอยู่โดยมาก อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
ธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดวัน คือ ชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี
สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ โดยตะแคงด้านขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
กำหนดเวลาตื่นไว้ในใจ ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้น แล้วชำระจิตให้บริสุทธิ์
จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดินจงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
รวมความว่า พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก
คำว่า ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น อธิบายว่า
คำว่า อุเบกขา ได้แก่ อุเบกขา คือ ความเพิกเฉย ความเพิกเฉยอย่างยิ่ง
ความที่จิตสงบ ความที่จิตสงัด ความที่จิตเป็นกลางในจตุตถฌาน
คำว่า มีจิตตั้งมั่น ได้แก่ ความตั้งมั่น ความดำรงมั่น ความไม่คลอนแคลน
ความไม่กวัดแกว่ง ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ความที่จิตไม่ซัดส่าย สมถะ สมาธินทรีย์
สมาธิพละ สัมมาสมาธิ
คำว่า ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น อธิบายว่า ปรารภอุเบกขาในจตุตถฌาน
มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีใจไม่ซัดส่าย รวมความว่า ปรารภ
อุเบกขา มีจิตตั้งมั่น

ว่าด้วยความตรึก 9 อย่าง
คำว่า ความตรึก ในคำว่า พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรมที่อาศัยความตรึก
และความคะนอง ได้แก่ ความตรึก 9 อย่าง คือ
1. ความตรึกในกาม
2. ความตรึกในความพยาบาท
3. ความตรึกในความเบียดเบียน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :607 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
4. ความตรึกถึงญาติ
5. ความตรึกถึงชนบท
6. ความตรึกถึงเทพเจ้า
7. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น
8. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ
9. ความตรึกเกี่ยวเนื่องด้วยความไม่ถูกดูหมิ่น
เหล่านี้เรียกว่า ความตรึก 9 อย่าง
กามสัญญาเป็นที่อาศัยแห่งกามวิตก พยาบาทสัญญาเป็นที่อาศัยแห่งพยาบาท-
วิตก วิหิงสาสัญญาเป็นที่อาศัยแห่งวิหิงสาวิตก
อีกนัยหนึ่ง อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อโนตตัปปะ และอุทธัจจะ
เป็นที่อาศัยแห่งวิตก คือ ความตรึก ความดำริทั้งหลาย
คำว่า ความคะนอง อธิบายว่า ความคะนองมือ ชื่อว่าความคะนอง ความ
คะนองเท้า ชื่อว่าความคะนอง ความคะนองมือและเท้า ก็ชื่อว่าความคะนอง ความ
สำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร ความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร ความสำคัญในสิ่งที่ไม่
มีโทษว่ามีโทษ ความสำคัญในสิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ ความคะนอง กิริยาที่คะนอง
ภาวะที่คะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่านเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ความคะนอง
อีกนัยหนึ่ง ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะเหตุ 2
อย่าง คือ (1) เพราะทำ (2) เพราะไม่ทำ
ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นเพราะทำและเพราะไม่ทำ
เป็นอย่างไร
คือ ความคะนอง ความเดือดร้อนจิต ใจฟุ้งซ่าน เกิดขึ้นว่า "เราทำแต่
กายทุจริต ไม่ทำกายสุจริต ... เราทำแต่วจีทุจริต ไม่ทำวจีสุจริต ... เราทำแต่มโนทุจริต
ไม่ทำมโนสุจริต ... เราทำแต่ปาณาติบาต ไม่ทำความงดเว้นจากปาณาติบาต ... เรา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :608 }