เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
[207] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน ตื่นอยู่โดยมาก
ปรารภอุเบกขา มีจิตตั้งมั่น พึงเข้าไปตัดความตรึกธรรม
ที่อาศัยความตรึกและความคะนอง
คำว่า ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข
อธิบายว่า
ภิกษุเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ เป็นผู้ประกอบด้วย
ความเป็นคนมีตาลอกแลกด้วยคิดว่า "รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดูแล้ว
ควรผ่านไปเลย" จึงเป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน และการเที่ยวไปไม่แน่นอน จาก
อารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง จากบ้านหนึ่งไป
สู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีกนครหนึ่ง จากรัฐ
หนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบท(ประเทศ)หนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง เพื่อดูรูป ภิกษุชื่อ
ว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนไม่สำรวม เดินมองช้าง
มองม้า มองรถ มองพลเดินเท้า มองสตรี มองบุรุษ มองเด็กชาย มองเด็กหญิง
มองร้านตลาด มองหน้ามุขเรือน มองข้างบน มองข้างล่าง มองทิศน้อยทิศใหญ่
ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว เป็นผู้รวบถือ เป็นผู้แยกถือ(อวัยวะส่วน
ต่าง ๆ) ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาป
อกุศลธรรมคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมไม่รักษาจักขุนทรีย์ ย่อมไม่ถึง
ความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :604 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้
เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยัง
ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การ
ประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การ
เล่นตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้สวยงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การเล่น
กระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ การ
แข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา การ
รำกระบี่กระบอง การชกมวยมวยปล้ำ การรบ การตรวจพลสวนสนาม การจัด
กระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง
ภิกษุไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ไม่เป็นผู้มีตาลอกแลก คือ ไม่เป็นผู้ประกอบ
ด้วยความเป็นคนมีตาลอกแลกด้วยคิดว่า "รูปที่ยังไม่เคยดู เราควรดู รูปที่เราเคยดู
แล้ว ควรผ่านไปเลย" จึงไม่เป็นผู้ขวนขวายการเที่ยวนาน และการเที่ยวไปไม่แน่นอน
จากอารามหนึ่งไปสู่อีกอารามหนึ่ง จากอุทยานหนึ่งไปสู่อีกอุทยานหนึ่ง จากบ้าน
หนึ่งไปสู่อีกบ้านหนึ่ง จากนิคมหนึ่งไปสู่อีกนิคมหนึ่ง จากนครหนึ่งไปสู่อีกนครหนึ่ง
จากรัฐหนึ่งไปสู่อีกรัฐหนึ่ง จากชนบท(ประเทศ)หนึ่งไปสู่อีกชนบทหนึ่ง เพื่อดูรูป
ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนก็สำรวม ไม่เดินมองช้าง ...
ไม่มองทิศน้อยทิศใหญ่ ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว ไม่รวบถือ ... ย่อมถึงความสำรวมใน
จักขุนทรีย์ ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้งดเว้นจากการขวนขวายในการดูการละเล่นอันเป็น
ข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขา
ให้ด้วยศรัทธาแล้ว ก็ไม่ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ
... การจัดกระบวนทัพ ภิกษุชื่อว่าไม่เป็นผู้สอดส่ายจักษุ เป็นอย่างนี้บ้าง รวมความว่า
ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่สอดส่ายจักษุ
คำว่า และไม่พึงเป็นผู้มีเท้าอยู่ไม่สุข อธิบายว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :605 }