เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ภิกษุรู้จักประมาณโดยการรับ เป็นอย่างไร
คือ แม้เมื่อทายกถวายน้อย ภิกษุก็รับเพื่อความเอ็นดูตระกูล เพื่อการรักษา
ตระกูล เพื่อการอนุเคราะห์ตระกูล แม้เมื่อทายกถวายมาก ภิกษุก็รับจีวรพอคุ้มครอง
กาย รับบิณฑบาตพอบริหารท้อง ภิกษุชื่อว่ารู้จักประมาณโดยการรับ เป็นอย่างนี้
ภิกษุรู้จักประมาณโดยการบริโภค เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อป้องกันความหนาว
ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
เพียงเพื่อปกปิดอวัยวะที่ก่อให้เกิดความละอาย
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันบิณฑบาต มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อ
มัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อ
ให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วย
มนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การดำเนินชีวิตของเรา
ความไม่มีโทษ และอยู่สบาย จักมีได้ด้วยวิธีการอย่างนี้
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยเสนาสนะ เพียงเพื่อป้องกันความ
หนาว ป้องกันความร้อน ป้องกันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายจากฤดู และความยินดีในการหลีกเร้น
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพียงเพื่อ
บำบัดเวทนาอันเนื่องมาจากอาพาธที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความไม่ลำบากเป็นอย่างยิ่ง
ภิกษุชื่อว่ารู้จักประมาณโดยการบริโภค เป็นอย่างนี้
คำว่า ภิกษุนั้น ... พึงรู้จักประมาณ ได้แก่ พึงรู้ คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ
แทงตลอดโดยเหตุ 2 อย่างเหล่านี้ รวมความว่า ภิกษุนั้น ... พึงรู้จักประมาณ
คำว่า ในธรรมวินัยนี้ ... เพื่อสันโดษ อธิบายว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้
ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ได้จีวรก็ไม่
กระวนกระวาย และได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญา
เครื่องสลัดออก ใช้สอยอยู่ อนึ่ง เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ท่าน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :601 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
จึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับใน
ความสันโดษด้วยจีวรนั้น ภิกษุนี้ตรัสเรียกว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ ที่รู้กันว่าดีเลิศ
เป็นของเก่า
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญ
ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่กระวนกระวาย และได้บิณฑบาตแล้วก็
ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ อนึ่ง
เพราะความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
เพราะภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษด้วย
บิณฑบาตนั้น ภิกษุนี้ตรัสเรียกว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่า ดีเลิศ เป็นของเก่า
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และกล่าวสรรเสริญ
ความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ทั้งไม่ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่กระวนกระวาย และได้เสนาสนะแล้วก็
ไม่ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก ใช้สอย อนึ่ง
เพราะความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
เพราะภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษ ด้วย
เสนาสนะนั้น ภิกษุนี้ตรัสเรียกว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ และ
กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ทั้งไม่
ประกอบการแสวงหาผิดที่ไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ไม่ได้
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่กระวนกระวาย และได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารแล้วก็ไม่
ติดใจ ไม่หลง ไม่พัวพัน มองเห็นโทษ มีปัญญาเครื่องสลัดออก บริโภคอยู่ อนึ่ง
เพราะความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ท่านจึงไม่ยกตน
ไม่ข่มผู้อื่น เพราะภิกษุใดขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้ตัว มีสติกำกับในความสันโดษ
ด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ภิกษุนี้ตรัสเรียกว่า ดำรงอยู่ในอริยวงศ์
ที่รู้กันว่าดีเลิศ เป็นของเก่า รวมความว่า ภิกษุนั้นในธรรมวินัยนี้ ... พึงรู้จักประมาณ
เพื่อสันโดษ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :602 }