เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น
ของเรา อธิบายว่า หมู่สัตว์ผู้หวาดระแวงว่าจะมีผู้แย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังถูกแย่งชิงไป ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูก
แย่งชิงไปแล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง หมู่สัตว์ผู้หวาดระแวงว่า จะมีความแปรผันไปแห่ง
วัตถุที่ตนยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไป ย่อมดิ้นรน
บ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไปแล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง คือ กระวนกระวาย กระเสือกกระสน
ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ พวกเธอจงดู คือ แลดู มองดู
เพ่งพินิจ พิจารณาดูหมู่สัตว์ ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ คือ กระวนกระวาย กระเสือกกระสน
ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่อย่างนี้ รวมความว่า พวกเธอจงดู
หมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
คำว่า เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว อธิบายว่า หมู่สัตว์ผู้หวาด
ระแวงว่าจะมีผู้แย่งชิงวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลัง
ถูกแย่งชิงไป ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นถูกแย่งชิงไปแล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง
หมู่สัตว์ผู้หวาดระแวงว่าจะมีความแปรผันไปแห่งวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นกำลังแปรผันไป ย่อมดิ้นรนบ้าง เมื่อวัตถุนั้นแปรผันไป
แล้ว ย่อมดิ้นรนบ้าง คือกระวนกระวาย กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว
สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อย คือ น้ำนิดหน่อย น้ำแห้ง
ไป ถูกกา เหยี่ยว หรือนกยางโฉบลากขึ้นมาแทะกินก็ดิ้นรน กระวนกระวาย
กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว สั่นเทา กระสับกระส่ายอยู่ ฉะนั้น รวม
ความว่า เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว
คำว่า นรชนเห็นโทษนี้แล้ว ... พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบาย
ว่า นรชนเห็นแล้ว คือ แลเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว
ทำให้แจ่มแจ้งแล้วซึ่งโทษนี้เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา รวมความว่า นรชนเห็น
โทษนี้แล้ว
คำว่า พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา อธิบายว่า
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา 2 อย่าง
คือ (1) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (2) ความยึดถือว่าเป็นของเรา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :60 }