เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ปรากฏ ... เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ ... ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศล
ธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ อย่างนี้บ้าง
คำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น อธิบายว่า พึงข่ม คือ ครอบงำ ท่วมทับ
รัดรึง ย่ำยีอันตรายเหล่านั้นให้ได้ รวมความว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น
คำว่า ความไม่ยินดี ในคำว่า พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด ได้แก่
ความไม่ยินดี คือความไม่ใยดี ความไม่ยินดียิ่ง ความไม่ชอบใจ ความเบื่อหน่าย
ความระอา
คำว่า ในที่นอนอันสงัด อธิบายว่า พึงปราบ คือ พึงครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง
ย่ำยีความไม่ยินดีในเสนาสนะอันสงัด หรือในธรรมอันเป็นกุศลยิ่งอย่างใดอย่างหนึ่ง
รวมความว่า พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด
คำว่า ทั้งปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ 4 ประการ อธิบาย
ว่า พึงปราบ คือข่ม ครอบงำ ท่วมทับ รัดรึง ย่ำยีธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
คร่ำครวญ 4 ประการ รวมความว่า ทั้งปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ
4 ประการ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุผู้มีปีติในเรื่องดีงาม
พึงเชิดชูปัญญา พึงข่มอันตรายเหล่านั้น
พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด
ทั้งปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ 4 ประการ
[205] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
เราจักฉันอะไรเล่า หรือจักฉันที่ไหน
คืนนี้ เรานอนลำบากแล้วหนอ เราจักนอนที่ไหนเล่า
ภิกษุผู้เป็นเสขะ พึงกำจัดวิตกอันเป็นที่ตั้ง
แห่งความคร่ำครวญเหล่านี้ เป็นผู้ไม่มีกังวลท่องเที่ยวไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :596 }