เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
สัตว์เหล่าไหนไม่เป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่มิใช่
ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา
ความหลุดพ้นจากโยคะ ปรารถนาจะปลงชีวิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็น
ที่รัก
สังขารเหล่าไหนไม่เป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ไม่น่าพอใจ
สังขารเหล่านี้ ชื่อว่าไม่เป็นที่รัก
คำว่า โดยแท้ เป็นคำกล่าวโดยนัยเดียว เป็นคำกล่าวโดยไม่สงสัย เป็นคำ
กล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น 2 นัย เป็นคำกล่าวโดยไม่เป็น
2 อย่าง เป็นคำกล่าวโดยรัดกุม เป็นคำกล่าวโดยไม่ผิด คำว่า โดยแท้ นี้ เป็นคำ
กล่าวที่กำหนดไว้แน่แล้ว
คำว่า แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขารที่เป็นที่รักหรือ
ไม่เป็นที่รัก โดยแท้ อธิบายว่า เมื่อจะครอบงำก็พึงกำราบ หรือ เมื่อจะกำราบ
ก็พึงครอบงำสัตว์และสังขารทั้งที่เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ทั้งที่เป็นสุขและเป็นทุกข์
ทั้งที่น่ายินดีและไม่น่ายินดี ทั้งที่เป็นโสมนัสและโทมนัส ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์และ
อนิฏฐารมณ์ รวมความว่า แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขารที่เป็น
ที่รักหรือไม่เป็นที่รัก โดยแท้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น
ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่
แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขาร
ที่เป็นที่รักหรือไม่เป็นที่รักโดยแท้
[204] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุผู้มีปีติในเรื่องดีงาม
พึงเชิดชูปัญญา พึงข่มอันตรายเหล่านั้น
พึงปราบความไม่ยินดีในที่นอนอันสงัด
ทั้งปราบธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความคร่ำครวญ 4 ประการ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :594 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ว่าด้วยการมีปีติและการเชิดชูปัญญา
คำว่า ปัญญา ในคำว่า ภิกษุผู้มีปีติในเรื่องดีงาม พึงเชิดชูปัญญา ได้แก่
ความรู้ทั่ว คือ กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกเฟ้น ... ความไม่หลงงมงาย
ความเลือกเฟ้นธรรม สัมมาทิฏฐิ
คำว่า พึงเชิดชูปัญญา อธิบายว่า ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เที่ยวเชิดชู
ปัญญา มีปัญญาเป็นธงชัย มีปัญญาเป็นยอดธง มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการ
เลือกเฟ้น มากด้วยการตรวจสอบ มากด้วยปัญญาเพ่งพินิจ มากด้วยปัญญาเพ่ง
พิจารณา อยู่ด้วยปัญญาแจ่มแจ้ง เที่ยวไปด้วยปัญญานั้น มากด้วยปัญญานั้น หนัก
ในปัญญานั้น เอนไปในปัญญานั้น โอนไปในปัญญานั้น โน้มไปในปัญญานั้น น้อมใจ
เชื่อปัญญานั้น มีปัญญานั้นเป็นใหญ่ รวมความว่า พึงเชิดชูปัญญา อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเดินอยู่ก็รู้ว่า "กำลังเดิน" ยืนอยู่ก็รู้ว่า "กำลังยืน" นั่งอยู่ก็รู้ว่า
"กำลังนั่ง" นอนอยู่ก็รู้ว่า "กำลังนอน" หรือเธอดำรงกายไว้ด้วยอิริยาบถอย่างใด ๆ ก็รู้
อิริยาบถอย่างนั้น ๆ รวมความว่า พึงเชิดชูปัญญา อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป การถอยกลับ ... ในการแลดู
การเหลียวดู ... ในการคู้เข้า การเหยียดออก ... ในการครองสังฆาฏิ บาตรและจีวร ...
ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้มรส การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ทำความ
รู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง รวมความว่า
พึงเชิดชูปัญญา อย่างนี้บ้าง
คำว่า ผู้มีปีติในเรื่องดีงาม ได้แก่ ปีติ คือ ปราโมทย์ เกิดด้วยอำนาจพุทธานุสติ
คำว่า ผู้มีปีติในเรื่องดีงาม อธิบายว่า ปีติ คือ ปราโมทย์ เกิดด้วยอำนาจ
ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ อานาปานัสสติ
มรณสติ กายคตาสติ อุปสมานุสสติ ชื่อว่ามีปีติในเรื่องดีงาม รวมความว่า ภิกษุผู้มี
ปีติในเรื่องดีงามพึงเชิดชูปัญญา
คำว่า อันตราย ในคำว่า พึงข่มอันตรายเหล่านั้น ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง
คือ (1) อันตรายที่ปรากฏ (2) อันตรายที่ไม่ปรากฏ ... เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :595 }