เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
เป็นที่อยู่ของมาร เป็นโคจรของมาร เป็นเครื่องผูกของมาร รวมความว่า เมื่อนั้น
เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พึงละ บรรเทา คือ ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกด้วย
มนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายแห่งมาร เป็นฝักฝ่าย
แห่งอกุศล เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นเหตุให้เป็นไปในนรก เป็นเหตุ
ให้เป็นไปในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นเหตุให้เป็นไปในเปตวิสัย รวมความว่า เมื่อนั้น
เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ อย่างนี้บ้าง
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ
พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง
เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ
เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า
นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ
[203] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น
ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่
แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขาร
ที่เป็นที่รักหรือไม่เป็นที่รัก โดยแท้

ว่าด้วยความโกรธและความดูหมิ่น
คำว่า ความโกรธ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น
ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ... ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต
คำว่า ความดูหมิ่น อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะชาติบ้าง
เพราะโคตรบ้าง ... หรือเพราะเรื่องอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง
คำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น อธิบายว่า ไม่พึง
ลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :592 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ความไม่มีอีกซึ่งความโกรธและความดูหมิ่น รวมความว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความ
โกรธและความดูหมิ่น
คำว่า ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่ อธิบายว่า
รากแห่งความโกรธ เป็นอย่างไร
คือ อวิชชา(ความไม่รู้) อโยนิโสมนสิการ(ความไม่ทำไว้ในใจโดยแยบคาย)
อัสมิมานะ(ความถือตัว) อหิริกะ(ความไม่ละอาย) อโนตตัปปะ(ความไม่เกรงกลัว)
อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) แต่ละอย่างล้วนเป็นราก นี้ชื่อว่ารากแห่งความโกรธ
รากแห่งความดูหมิ่น เป็นอย่างไร
คือ อวิชชา อโยนิโสมนสิการ อัสมิมานะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ แต่ละ
อย่างล้วนเป็นราก นี้ชื่อว่ารากแห่งความดูหมิ่น
คำว่า ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่ อธิบาย
ว่า พึงขุด คือ ถอน ดึง ฉุด กระชาก ละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความ
ไม่มีอีกซึ่งรากแห่งความโกรธและความดูหมิ่น ดำรงอยู่ คือ ดำรงมั่น รวมความว่า
ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่
คำว่า แต่ ในคำว่า แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขารที่เป็น
ที่รักหรือไม่เป็นที่รัก โดยแท้ เป็นบทสนธิ เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์
เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า แต่ นี้ เป็นคำ
เชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งเป็นที่รัก 2 จำพวก คือ (1) สัตว์ (2) สังขาร
สัตว์เหล่าไหนเป็นที่รัก สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่เป็น
ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาแต่ความผาสุก ปรารถนาแต่ความ
หลุดพ้นจากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชายน้องชาย พี่สาวน้องสาว บุตร ธิดา มิตร
อำมาตย์ ญาติ หรือผู้ร่วมสายโลหิตของผู้นั้น สัตว์เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
สังขารเหล่าไหนเป็นที่รัก รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ สังขาร
เหล่านี้ ชื่อว่าสิ่งเป็นที่รัก
คำว่า ไม่เป็นที่รัก ได้แก่ สิ่งไม่เป็นที่รัก 2 จำพวก คือ (1) สัตว์ (2) สังขาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :593 }