เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
สัตว์เหล่านั้น ไม่สะดุ้ง คือ ไม่ครั่นคร้าม ไม่เกรงกลัว ไม่หวาดกลัว ไม่ถึงความ
สะดุ้ง เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้มั่นคง
คำว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง อธิบายว่า พึงแผ่ คือ
ขยายเมตตา ได้แก่ พึงเป็นผู้มีจิตประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มี
ขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคงอยู่
รวมความว่า พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง
คำว่า เมื่อใด ในคำว่า เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ ได้แก่ ในกาลใด
คำว่า แห่งใจ อธิบายว่า จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ มนินทรีย์
วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุ อันเกิดจากผัสสะเป็นต้นนั้น จิตขุ่นมัว
เศร้าหมอง ยุ่งยาก วุ่นวาย หวั่นไหว หมุนวน ไม่สงบด้วยกายทุจริต จิตขุ่นมัว
เศร้าหมอง ยุ่งยาก วุ่นวาย หวั่นไหว หมุนวน ไม่สงบด้วยวจีทุจริต ... มโนทุจริต ...
ราคะ... โทสะ... โมหะ... โกธะ... อุปนาหะ... มักขะ... ปฬาสะ... อิสสา... มัจฉริยะ...
มายา... สาเถยยะ... ถัมภะ... สารัมภะ... มานะ... อติมานะ... มทะ... ปมาทะ...
กิเลสทุกชนิด ... ทุจริตทุกทาง ... ความกระวนกระวายทุกอย่าง ... ความเร่าร้อน
ทุกสถาน ... ความเดือดร้อนทุกประการ... อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
คำว่า เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ อธิบายว่า รู้ คือ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง
รู้เฉพาะ แทงตลอดความที่จิตขุ่นมัว รวมความว่า เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัว
แห่งใจ
คำว่า เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้ เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้
มีกรรมดำ อธิบายว่า
คำว่า ผู้มีกรรมดำ ได้แก่ มารผู้มีกรรมดำ คือ ผู้ยิ่งใหญ่ พาไปสู่ความตาย ไม่
ให้สัตว์หลุดพ้น เป็นเผ่าพันธุ์ของผู้ประมาท ภิกษุพึงละ บรรเทา คือ ทำให้หมดสิ้นไป
ให้ถึงความไม่มีอีก ด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ คือ เป็นฝัก
ฝ่ายแห่งมาร เป็นบ่วงแห่งมาร เป็นเบ็ดแห่งมาร เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นวิสัยแห่งมาร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :591 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
เป็นที่อยู่ของมาร เป็นโคจรของมาร เป็นเครื่องผูกของมาร รวมความว่า เมื่อนั้น
เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พึงละ บรรเทา คือ ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึงความไม่มีอีกด้วย
มนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ เป็นฝักฝ่ายแห่งมาร เป็นฝักฝ่าย
แห่งอกุศล เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นเหตุให้เป็นไปในนรก เป็นเหตุ
ให้เป็นไปในกำเนิดเดรัจฉาน เป็นเหตุให้เป็นไปในเปตวิสัย รวมความว่า เมื่อนั้น
เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ อย่างนี้บ้าง
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงขโมย ไม่พึงพูดเท็จ
พึงแผ่เมตตาไปยังสัตว์ทั้งผู้สะดุ้งและผู้มั่นคง
เมื่อใด ภิกษุรู้แจ้งความขุ่นมัวแห่งใจ
เมื่อนั้น เธอพึงบรรเทาเสียด้วยมนสิการว่า
นี้เป็นฝักฝ่ายแห่งมารผู้มีกรรมดำ
[203] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น
ทั้งพึงขุดรากความโกรธและความดูหมิ่นเหล่านั้น ดำรงอยู่
แต่เมื่อจะกำราบ ก็พึงครอบงำสัตว์หรือสังขาร
ที่เป็นที่รักหรือไม่เป็นที่รัก โดยแท้

ว่าด้วยความโกรธและความดูหมิ่น
คำว่า ความโกรธ ในคำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น
ได้แก่ ใจปองร้าย มุ่งร้าย ... ความดุร้าย ความเกรี้ยวกราด ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต
คำว่า ความดูหมิ่น อธิบายว่า คนบางคนในโลกนี้ดูหมิ่นผู้อื่น เพราะชาติบ้าง
เพราะโคตรบ้าง ... หรือเพราะเรื่องอื่นนอกจากที่กล่าวแล้วบ้าง
คำว่า ภิกษุไม่พึงลุอำนาจความโกรธและความดูหมิ่น อธิบายว่า ไม่พึง
ลุอำนาจแห่งความโกรธและความดูหมิ่น คือ พึงละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ให้ถึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :592 }