เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ใดก็ตามที่มิได้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ตรัสเรียกว่า ผู้ถือธรรมอื่น
ชนเหล่านั้นพึงถามปัญหากับภิกษุบ้าง พึงยกเรื่องขึ้นด่า บริภาษ แช่ง เสียดสี
เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข่นฆ่า หรือทำการเข่นฆ่า ภิกษุได้เห็น หรือได้
ยินอารมณ์อันน่าหวาดเสียวเป็นอันมากของชนผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้นแล้ว ไม่พึง
หวั่นไหว ไม่พึงสั่นเทา ไม่พึงกระสับกระส่าย ไม่พึงหวาดเสียว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึง
ครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึงถึงความสะดุ้ง ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่
ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและความหวาดกลัวได้แล้ว
หมดความขนพองสยองเกล้าอยู่ รวมความว่า ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น
แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมากของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น
คำว่า อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่น ๆ
อธิบายว่า อนึ่ง ยังมีอันตรายอื่น ๆ ที่ภิกษุพึงปราบปราม ครอบงำ กำจัด ขับไล่
ย่ำยีอยู่อีก
คำว่า อันตราย1 ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง คือ (1) อันตรายที่ปรากฏ
(2) อันตรายที่ไม่ปรากฏ ... ชื่อว่าอันตราย เพราะเป็นอกุศลธรรมที่อาศัยอยู่ในอัตภาพ
อย่างนี้บ้าง
คำว่า ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล อธิบายว่า ภิกษุผู้แสวงหา คือ เสาะหา ค้นหา
การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติไม่ผิด
การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ ... อริยมรรคมีองค์ 8 นิพพาน และปฏิปทาเครื่อง
ดำเนินไปสู่นิพพาน พึงปราบปราม ครอบงำ กำจัด ขับไล่ ย่ำยีอันตราย รวมความว่า
อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่น ๆ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น
แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมาก
ของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น ก็ไม่พึงหวาดกลัว
อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่น ๆ

เชิงอรรถ :
1 อันตราย ดูรายละเอียดข้อ 5/16-21

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :587 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
[201] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุถูกผัสสะแห่งความเจ็บป่วยและความหิวกระทบแล้ว
พึงอดกลั้นความหนาว หรือความร้อน
ภิกษุนั้นถูกผัสสะเหล่านั้นกระทบแล้ว โดยอาการมากอย่าง
ก็ไม่ให้โอกาส พึงทำความเพียรและความบากบั่นให้มั่นคง
คำว่า ภิกษุถูกผัสสะแห่งความเจ็บป่วยและความหิวกระทบแล้ว อธิบายว่า
ผัสสะแห่งโรค ตรัสเรียกว่า ผัสสะแห่งความเจ็บป่วย ภิกษุถูกผัสสะแห่งโรคกระทบแล้ว
คือ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ได้แก่ ถูกโรคทางตา ... โรคทางหู ... โรคทางจมูก
... โรคทางลิ้น ... โรคทางกาย ... ถูกสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อย
คลานกระทบแล้ว คือ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว ความอยากกิน ตรัสเรียกว่า
ความหิว ภิกษุนั้นเป็นผู้ถูกความหิวกระทบแล้ว คือ ครอบงำ กลุ้มรุม ประกอบแล้ว
รวมความว่า ภิกษุถูกผัสสะแห่งความเจ็บป่วยและความหิวกระทบแล้ว

ว่าด้วยความหนาวมีด้วยเหตุ 2 อย่าง
คำว่า ความหนาว ในคำว่า พึงอดกลั้นความหนาว หรือความร้อน อธิบายว่า
ความหนาวย่อมมีด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ (1) ความหนาวด้วยอำนาจธาตุกำเริบภายใน
(2) ความหนาวด้วยอำนาจฤดูภายนอก
คำว่า ความร้อน อธิบายว่า ความร้อนย่อมมีด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ (1) ความ
ร้อนด้วยอำนาจธาตุกำเริบภายใน (2) ความร้อนด้วยอำนาจฤดูภายนอก รวมความ
ว่า ความหนาว ความร้อน
คำว่า พึงอดกลั้น อธิบายว่า ภิกษุพึงเป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน
ความหิว ความกระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน พึง
เป็นผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำชั่วร้าย มุ่งร้าย ทุกขเวทนาทางกาย ที่เกิดขึ้น กล้า แข็ง เผ็ด
ร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิตไปได้ รวมความว่า พึงอดกลั้นความหนาว
หรือความร้อน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :588 }