เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ 4 เท้า อธิบายว่า โจร คนที่ก่อกรรมไว้
หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ ตรัสเรียกว่า สัมผัสจากมนุษย์
ชนเหล่านั้นพึงถามปัญหากับภิกษุบ้าง ยกเรื่องขึ้นด่า บริภาษ แช่ง เสียดสี
เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข่นฆ่า หรือทำการเข่นฆ่าบ้าง ความเข้าไป
เบียดเบียนจากมนุษย์ชนิดใดก็ตาม ชื่อว่า สัมผัสจากมนุษย์
คำว่า สัตว์ 4 เท้า ได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า
โค กระบือ ช้าง สัตว์เหล่านั้น พึงย่ำยีบ้าง กัดกิน เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง
ฆ่า เข้าไปฆ่า หรือ ทำการเข้าไปฆ่าภิกษุบ้าง ภัยจากสัตว์ 4 เท้าชนิดใดก็ตาม ชื่อว่า
การเข้าไปฆ่าจากสัตว์ 4 เท้า รวมความว่า สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ 4 เท้า
ด้วยเหตุนั้น พระผู้นี้พระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ
ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ
ไม่พึงกลัวภัย 5 อย่าง คือ
เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน
สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ 4 เท้า
[200] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น
แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมาก
ของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น ก็ไม่พึงหวาดกลัว
อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่น ๆ

ว่าด้วยสหธรรมิก
คำว่า ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็น
อันมากของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น อธิบายว่า เว้นสหธรรมมิก1 7 จำพวก ชนเหล่า

เชิงอรรถ :
1 สหธรรมิก 7 ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา (ขุ.ม.อ. 200/464)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :586 }