เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
อภิชฌาและโทมนัสครอบงำไม่ได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวมในมนินทรีย์
พิจารณาอาทิตตปริยายเทศนาอยู่ ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรีย-
สังวรภายใน ไม่ทำลายเขตแดน นี้ ชื่อว่าธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคืออินทรียสังวร
ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงฉันอาหาร มิใช่เพื่อเล่น
มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อตบแต่ง มิใช่เพื่อประดับ แต่ฉันเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่
เพื่อให้ร่างกายนี้ดำเนินไปได้ เพื่อระงับความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
อย่างเดียวเท่านั้น ด้วยมนสิการว่า เราจักบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
การดำเนินชีวิตของเรา ความไม่มีโทษและความอยู่สบายจักมีได้ด้วยวิธีการอย่างนี้
พิจารณาอาหารเปรียบกับน้ำมันสำหรับหยอดเพลา ผ้าปิดแผล และเนื้อของบุตร
ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตาภายใน ไม่ทำลายเขตแดน นี้
ชื่อว่าธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือโภชเนมัตตัญญุตา
ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดิน
จงกรม และการนั่งตลอดวัน คือชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการ
เดินจงกรม และการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จการนอนอย่างราชสีห์ โดย
ตะแคงด้านขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ กำหนดเวลาตื่นไว้ในใจ ตลอด
มัชฌิมยามแห่งราตรี ลุกขึ้น ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกางกั้นด้วยการเดิน
จงกรม และการนั่งตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี พิจารณาถึงความเป็นอยู่ของผู้มีราตรี
เดียวเจริญ ประพฤติธรรมเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยคภายใน ไม่ทำลายเขตแดน
นี้ชื่อว่าธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบคือชาคริยานุโยค รวมความว่า ภิกษุ ... มีสติ ประพฤติ
ธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ
คำว่า เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน อธิบายว่า แมลงตาเหลือง
ตรัสเรียกว่าเหลือบ แมลงวันทุกชนิด ตรัสเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม เพราะเหตุไร แมลงวัน
ทุกชนิด จึงตรัสเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม แมลงวันเหล่านั้น บินชอนไชเรื่อยไป เพราะ
เหตุนั้น แมลงวันทุกชนิด จึงตรัสเรียกว่า สัตว์ไต่ตอม งูตรัสเรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน
รวมความว่า เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :585 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ 4 เท้า อธิบายว่า โจร คนที่ก่อกรรมไว้
หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ ตรัสเรียกว่า สัมผัสจากมนุษย์
ชนเหล่านั้นพึงถามปัญหากับภิกษุบ้าง ยกเรื่องขึ้นด่า บริภาษ แช่ง เสียดสี
เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง ฆ่า เข่นฆ่า หรือทำการเข่นฆ่าบ้าง ความเข้าไป
เบียดเบียนจากมนุษย์ชนิดใดก็ตาม ชื่อว่า สัมผัสจากมนุษย์
คำว่า สัตว์ 4 เท้า ได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า
โค กระบือ ช้าง สัตว์เหล่านั้น พึงย่ำยีบ้าง กัดกิน เบียดเบียน รังแก กดขี่ ข่มเหง
ฆ่า เข้าไปฆ่า หรือ ทำการเข้าไปฆ่าภิกษุบ้าง ภัยจากสัตว์ 4 เท้าชนิดใดก็ตาม ชื่อว่า
การเข้าไปฆ่าจากสัตว์ 4 เท้า รวมความว่า สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ 4 เท้า
ด้วยเหตุนั้น พระผู้นี้พระภาคจึงตรัสว่า
ภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ
ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ
ไม่พึงกลัวภัย 5 อย่าง คือ
เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน
สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ 4 เท้า
[200] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น
แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็นอันมาก
ของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น ก็ไม่พึงหวาดกลัว
อนึ่ง ภิกษุผู้หมั่นแสวงหากุศล พึงปราบปรามอันตรายอื่น ๆ

ว่าด้วยสหธรรมิก
คำว่า ภิกษุไม่พึงหวาดกลัวผู้ถือธรรมอื่น แม้เห็นอารมณ์น่าหวาดเสียวเป็น
อันมากของผู้ถือธรรมอื่นเหล่านั้น อธิบายว่า เว้นสหธรรมมิก1 7 จำพวก ชนเหล่า

เชิงอรรถ :
1 สหธรรมิก 7 ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา (ขุ.ม.อ. 200/464)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :586 }