เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
เสนาสนะ ตรัสเรียกว่า ที่นอน ได้แก่ วิหาร เรือนหลังคาด้านเดียว ปราสาท
เรือนโล้น ถ้ำ ที่นอนและที่นั่งนั้น สงัด คือ ว่าง เงียบ จากการได้เห็นรูปไม่เป็นที่สบาย
... จากการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย สงัด คือ ว่าง เงียบ จากกามคุณ 5 ไม่เป็นที่
สบาย ผู้ใช้สอย คือ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะที่นอนที่นั่งนั้น รวมความว่า
ใช้สอยที่นั่งที่นอนอันสงัด
คำว่า ธรรมอันสมควร... ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณ อธิบายว่า ญาณในมรรค
ทั้ง 4 ตรัสเรียกว่า สัมโพธิญาณ คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ...
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเครื่องพิจารณา ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ
ผู้ปรารถนาจะรู้ ปรารถนาจะรู้ตาม ปรารถนาจะรู้เฉพาะ ปรารถนาจะรู้พร้อม
ปรารถนาจะบรรลุ ปรารถนาจะสัมผัส ปรารถนาจะทำให้แจ้งสัมโพธิญาณนั้น
รวมความว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณ
คำว่า ธรรมอันสมควร อธิบายว่า
ธรรมอันสมควรแก่โพธิญาณ เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ
ไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม
การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ
เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ธรรมอันสมควรแก่โพธิญาณ
อีกนัยหนึ่ง วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคทั้ง 4 เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า
ธรรมอันสมควรแก่โพธิญาณ รวมความว่า ธรรมอันสมควร... ผู้ปรารถนา
สัมโพธิญาณ
คำว่า นั้น ในคำว่า เราจักบอก... นั้น แก่เธอ ตามที่รู้ ได้แก่ ธรรมอัน
สมควรแก่โพธิญาณ
คำว่า เราจักบอก ได้แก่ จักพูด บอก คือ กล่าว แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :582 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า ตามที่รู้ ได้แก่ ตามที่รู้ คือ ตามที่ทราบ รู้ทั่ว รู้แจ่มแจ้ง รู้เฉพาะ
แทงตลอด ได้แก่ เราจักบอกธรรมที่รู้ด้วยตนเอง ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง
มิใช่โดยอาการเชื่อผู้อื่นว่า ธรรมนี้เป็นดังนี้ ธรรมนี้เป็นดังนี้ มิใช่โดยการเล่าลือ
มิใช่โดยการถือสืบ ๆ กันมา มิใช่โดยการอ้างตำรา มิใช่โดยตรรกะ มิใช่โดยการ
อนุมาน มิใช่โดยการคิดตรองตามแนวเหตุผล มิใช่เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจ
ไว้แล้ว จักบอกธรรมที่รู้เฉพาะตนเอง ธรรมที่ประจักษ์แก่ตนเอง รวมความว่า เราจัก
บอก... นั้น แก่เธอ ตามที่รู้ ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
(พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า สารีบุตร)
เราจักบอกความผาสุก และธรรมอันสมควรนั้น
ของผู้เบื่อหน่าย ใช้สอยที่นั่งที่นอนอันสงัด
ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณ แก่เธอ ตามที่รู้
[199] (พระผู้มีพระภาคตรัสต่อไปว่า)
ภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ
ประพฤติธรรมอันเป็นส่วนสุดรอบ
ไม่พึงกลัวภัย 5 อย่าง คือ
เหลือบ สัตว์ไต่ตอม สัตว์เลื้อยคลาน
สัมผัสจากมนุษย์และสัตว์ 4 เท้า

ว่าด้วยภิกษุผู้เป็นนักปราชญ์
คำว่า ผู้เป็นนักปราชญ์ ในคำว่า ผู้เป็นนักปราชญ์... ไม่พึงกลัวภัย 5 อย่าง
ได้แก่ เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นบัณฑิต มีปัญญา มีปัญญาเครื่องตรัสรู้ มีญาณ
มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส เฉลียวฉลาด ไม่พึงกลัว คือ ไม่พึง
หวาดเสียว ไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึงถึงความสะดุ้ง
ต่อภัย 5 อย่าง ได้แก่ ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและ
ความหวาดกลัวได้แล้ว หมดความขนพองสยองเกล้า อยู่ รวมความว่า ผู้เป็นนักปราชญ์...
ไม่พึงกลัวภัย 5 อย่าง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :583 }