เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้สอยเสนาสนะที่เป็นป่าละเมาะและป่าทึบ
อันสงัด มีเสียงน้อย มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็น
สถานที่ทำการลับของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
อธิสีล อธิจิต อธิปัญญา จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งฌาน 4 อัปปมัญญา 4
อรูปสมาบัติ 4 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8
อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสัญญาภาวนา 10 กสิณ-
สมาบัติ 10 อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งสติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4
อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรคมีองค์ 8 จึงชื่อว่าพระผู้มี
พระภาค
อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงเป็นผู้มีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ 10
เวสารัชชญาณ 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 พุทธธรรม 6 จึงชื่อว่าพระผู้มีพระภาค
พระนามว่า พระผู้มีพระภาค นี้ มิใช่พระชนนีทรงตั้ง มิใช่พระชนกทรงตั้ง
มิใช่พระภาดาทรงตั้ง มิใช่พระภคินีทรงตั้ง มิใช่มิตรและอำมาตย์ตั้ง มิใช่พระญาติ
และผู้ร่วมสายโลหิตทรงตั้ง มิใช่สมณพราหมณ์ตั้ง มิใช่เทวดาตั้ง
คำว่า พระผู้มีพระภาค นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม เป็นสัจฉิกาบัญญัติของ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย พร้อมกับการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ที่โคน
ต้นโพธิ์ รวมความว่า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า สารีบุตร
คำว่า ใช้สอยที่นั่งที่นอนอันสงัด อธิบายว่า ที่สำหรับนั่ง ตรัสเรียกว่า ที่นั่ง
ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ แผ่นหนัง เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า เครื่องปูลาด
ทำด้วยใบไม้ เครื่องปูลาดทำด้วยฟาง


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :581 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
เสนาสนะ ตรัสเรียกว่า ที่นอน ได้แก่ วิหาร เรือนหลังคาด้านเดียว ปราสาท
เรือนโล้น ถ้ำ ที่นอนและที่นั่งนั้น สงัด คือ ว่าง เงียบ จากการได้เห็นรูปไม่เป็นที่สบาย
... จากการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย สงัด คือ ว่าง เงียบ จากกามคุณ 5 ไม่เป็นที่
สบาย ผู้ใช้สอย คือ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะที่นอนที่นั่งนั้น รวมความว่า
ใช้สอยที่นั่งที่นอนอันสงัด
คำว่า ธรรมอันสมควร... ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณ อธิบายว่า ญาณในมรรค
ทั้ง 4 ตรัสเรียกว่า สัมโพธิญาณ คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ...
ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ปัญญาเครื่องพิจารณา ปัญญาเครื่องเห็นแจ้ง สัมมาทิฏฐิ
ผู้ปรารถนาจะรู้ ปรารถนาจะรู้ตาม ปรารถนาจะรู้เฉพาะ ปรารถนาจะรู้พร้อม
ปรารถนาจะบรรลุ ปรารถนาจะสัมผัส ปรารถนาจะทำให้แจ้งสัมโพธิญาณนั้น
รวมความว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิญาณ
คำว่า ธรรมอันสมควร อธิบายว่า
ธรรมอันสมควรแก่โพธิญาณ เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติเหมาะสม การปฏิบัติที่ไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ
ไม่คลาดเคลื่อน การปฏิบัติที่เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม
การรักษาศีลให้บริบูรณ์ ความเป็นผู้สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติสัมปชัญญะ
เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ธรรมอันสมควรแก่โพธิญาณ
อีกนัยหนึ่ง วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่งมรรคทั้ง 4 เหล่านี้ ตรัสเรียกว่า
ธรรมอันสมควรแก่โพธิญาณ รวมความว่า ธรรมอันสมควร... ผู้ปรารถนา
สัมโพธิญาณ
คำว่า นั้น ในคำว่า เราจักบอก... นั้น แก่เธอ ตามที่รู้ ได้แก่ ธรรมอัน
สมควรแก่โพธิญาณ
คำว่า เราจักบอก ได้แก่ จักพูด บอก คือ กล่าว แสดง บัญญัติ กำหนด
เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่าย ประกาศ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :582 }