เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
5. สปทานจาริกังคธุดงค์ 6. ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์
7. เนสัชชิกังคธุดงค์
8. ยถาสันถติกังคธุดงค์1 นี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล
แม้การสมาทานความเพียร ก็เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า
เนื้อและเลือดในร่างกายจงเหือดแห้งไป จะเหลืออยู่แต่หนังเอ็นกระดูกก็ตามทีเถิด
ผลใดพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยกำลังของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ
ด้วยความบากบั่นของบุรุษ (ถ้า) ไม่บรรลุผลนั้นแล้วก็จักไม่หยุด ความเพียร แม้การ
สมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า
"เมื่อเรายังถอนลูกศรคือตัณหาขึ้นไม่ได้
เราจะไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่ออกไปจากวิหาร
ทั้งจะไม่เอนกายนอน2"
การสมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เลย แม้การสมาทาน
ความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า ตราบใดที่จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ
ทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ตราบนั้นเราก็จักไม่ลุกจากที่นั่ง... ไม่ลงจากลานจงกรม...
ไม่ออกจากวิหาร... ไม่ออกจากเรือนหลังคาด้านเดียว... ไม่ออกจากปราสาท...
ไม่ออกจากเรือนโล้น... ไม่ออกจากถ้ำ... ไม่ออกจากที่หลีกเร้น... ไม่ออกจากกุฎี...
ไม่ออกจากเรือนยอด... ไม่ออกจากป้อม... ไม่ออกจากโรงกลม... ไม่ออกจากเรือนที่
มีเครื่องกั้น... ไม่ออกจากศาลาที่บำรุง... ไม่ออกจากมณฑป... ไม่ออกจากโคนไม้นี้
แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล

เชิงอรรถ :
1 ดูคำแปลจากข้อ 17/79
2 ขุ.เถร.(แปล) 26/223/374

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :575 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำ
ให้แจ้งซึ่งอริยธรรม เช้าวันนี้เอง แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตร
ไม่ใช่ศีล
ภิกษุประคองจิตมุ่งมั่นว่า เราจักนำมา นำมาด้วยดี บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่ง
อริยธรรมในเที่ยงนี้... เย็นนี้... ก่อนภัต... หลังภัต... ปฐมยาม... มัชฌิมยาม...
ปัจฉิมยาม... ข้างแรม... ข้างขึ้น... ฤดูฝน... ฤดูหนาว... ฤดูร้อน... ปฐมวัย...
มัชฌิมวัย... ปัจฉิมวัย แม้การสมาทานความเพียรอย่างนี้เรียกว่า วัตรไม่ใช่ศีล
นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งศีลและวัตร ภิกษุพึงเป็นผู้ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่ง
ศีลและวัตรเช่นนี้ รวมความว่า พึงมีศีลและวัตรอย่างไร

ว่าด้วยการอบรมตน
คำว่า อบรมตนอยู่ ในคำว่า ภิกษุอบรมตนอยู่ อธิบายว่า ภิกษุปรารภความ
เพียร มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งฉันทะ ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลาย อีกนัยหนึ่ง ภิกษุส่งตนไป คือ ส่งตนไปในประโยชน์ตน1 ในญายะ2
ในลักษณะ3 ในเหตุ ในฐานะและอฐานะ คือ ส่งตนไปว่า "สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง...
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์... ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา"...
ส่งตนไปว่า "เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี... เพราะชาติเป็นปัจจัย
ชราและมรณะจึงมี... เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ... เพราะชาติดับ ชราและ
มรณะจึงดับ"...
ส่งตนไปว่า "นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา... เหล่านี้อาสวะ...
นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา"...
ส่งตนไปว่า "เหล่านี้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง... เหล่านี้ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง"

เชิงอรรถ :
1 ประโยชน์ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล (ขุ.ม.อ. 196/461)
2 ญายะ ในที่นี้หมายถึงอริยมรรค (ขุ.ม.อ. 196/461)
3 ลักษณะ ในที่นี้หมายถึงไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น (ขุ.ม.อ. 196/461)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :576 }