เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
6. สีลกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล)
7. สมาธิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น)
8. ปัญญากถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา)
9. วิมุตติกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์)
10. วิมุตติญาณทัสสนกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้
ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์)
ย่อมกล่าว สติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา
โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา ภิกษุเป็นผู้สำรวมระวัง ระมัดระวัง
คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวรด้วยวาจา นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งวาจา ภิกษุพึงเป็น
ผู้ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจาเช่นนี้ รวมความว่า พึงมีแนวทางแห่งถ้อยคำ
อย่างไร
คำว่า พึงมีโคจรในศาสนานี้อย่างไร อธิบายว่า พระเถระถามถึงโคจรว่า
ภิกษุพึงประกอบด้วยโคจรเช่นไร คือ ตั้งไว้อย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบได้กับ
อะไร โคจรก็มี อโคจรก็มี

ว่าด้วยอโคจรและโคจร
อโคจร1 เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้าย
เป็นโคจร มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร มีภิกษุณีเป็นโคจร หรือมีร้าน
สุราเป็นโคจร เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์
สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่าและบริภาษ ปรารถนาแต่สิ่ง
ที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา
ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า
อโคจร

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.(แปล) 35/514/388

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :571 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเข้าสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนไม่สำรวม เดินมองช้าง
มองม้า มองรถ มองพลเดินเท้า มองสตรี มองบุรุษ มองเด็กชาย มองเด็กหญิง มอง
ร้านตลาด มองหน้ามุขเรือน มองข้างบน มองข้างล่าง มองทิศน้อยทิศใหญ่ แม้นี้ก็
ตรัสเรียกว่า อโคจร
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปทางตาแล้ว รวบถือ แยกถือ ... ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อ
สำรวมมนินทรีย์ ซึ่งเมื่อไม่สำรวมแล้วจะเป็นเหตุให้บาปอกุศลธรรมคืออภิชฌาและ
โทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษามนินทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์ แม้นี้ก็ตรัส
เรียกว่า อโคจร
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลธรรมเห็น
ปานนี้อยู่ เหมือนสมณพราหมณ์ผู้เจริญบางพวกบริโภคอาหารที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว
ยังขวนขวายดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง
การประโคมดนตรี การดูมหรสพ การเล่านิทาน การเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี
การเล่นตีกลอง การสร้างฉากบ้านเมืองให้สวยงาม การละเล่นของคนจัณฑาล การ
เล่นกระดานหก การละเล่นหน้าศพ การแข่งชนช้าง การแข่งม้า การแข่งชนกระบือ
การแข่งชนโค การแข่งชนแพะ การแข่งชนแกะ การแข่งชนไก่ การแข่งชนนกกระทา
การรำกระบี่กระบอง การชกมวย มวยปล้ำ การตรวจพลสวนสนาม การจัดกระบวน-
ทัพ แม้นี้ก็ตรัสเรียกว่า อโคจร
แม้กามคุณ 5 ก็ชื่อว่าอโคจร สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า "ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธออย่าเที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพวกเธอ
เที่ยวไปในแดนอื่นที่เป็นอโคจร มารก็จักได้ช่อง จักได้อารมณ์ ภิกษุทั้งหลาย แดน
อื่นที่เป็นอโคจรของภิกษุ เป็นอย่างไร คือ กามคุณ 5 กามคุณ 5 อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่รู้ได้ทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่รู้ได้ทางหู ...
3. กลิ่นที่รู้ได้ทางจมูก...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :572 }