เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
6. สีลกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล)
7. สมาธิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น)
8. ปัญญากถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา)
9. วิมุตติกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์)
10. วิมุตติญาณทัสสนกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้
ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์)
ย่อมกล่าว สติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา
โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา ภิกษุเป็นผู้สำรวมระวัง ระมัดระวัง
คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวรด้วยวาจา นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งวาจา ภิกษุพึงเป็น
ผู้ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจาเช่นนี้ รวมความว่า พึงมีแนวทางแห่งถ้อยคำ
อย่างไร
คำว่า พึงมีโคจรในศาสนานี้อย่างไร อธิบายว่า พระเถระถามถึงโคจรว่า
ภิกษุพึงประกอบด้วยโคจรเช่นไร คือ ตั้งไว้อย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบได้กับ
อะไร โคจรก็มี อโคจรก็มี

ว่าด้วยอโคจรและโคจร
อโคจร1 เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้าย
เป็นโคจร มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร มีภิกษุณีเป็นโคจร หรือมีร้าน
สุราเป็นโคจร เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์
สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่าและบริภาษ ปรารถนาแต่สิ่ง
ที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา
ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า
อโคจร

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.(แปล) 35/514/388

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :571 }