เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า พึงมีแนวทางแห่งถ้อยคำอย่างไร อธิบายว่า พระเถระถามถึงความ
บริสุทธิ์แห่งวาจาว่า ภิกษุนั้นพึงประกอบด้วยวิธีการพูดเช่นไร คือ ตั้งไว้อย่างไร
มีประการอย่างไร เปรียบได้กับอะไร

ว่าด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจา
ความบริสุทธิ์แห่งวาจา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ละการกล่าวเท็จ เว้นขาดจากการกล่าวเท็จได้แล้ว คือ
เป็นคนพูดจริง ตั้งมั่นในความสัตย์ มีถ้อยคำมั่นคง เชื่อถือได้ ไม่กล่าวคำหลอกลวง
ชาวโลก ละวาจาส่อเสียด เว้นขาดจากวาจาส่อเสียดได้แล้ว ฟังจากข้างนี้แล้ว ไม่ไป
บอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ ฟังจากข้างโน้นแล้ว ไม่ไปบอกข้างนี้ เพื่อทำลาย
คนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกแยกกัน หรือส่งเสริมคนที่มีประโยชน์ร่วมกัน
มีความสามัคคีเป็นที่ชื่นชม ยินดีในความสามัคคี รื่นเริงในสามัคคีธรรม เป็นผู้กล่าว
วาจาก่อให้เกิดความสามัคคี ละวาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบได้แล้ว วาจาใด
ไร้โทษ สบายหู น่ารัก จับใจ แบบชาวเมือง คนส่วนใหญ่ชอบใจ พอใจ ก็กล่าววาจา
เช่นนั้น ละการพูดเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อได้แล้ว พูดถูกเวลา พูดจริง
พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย กล่าววาจาเป็นหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีต้นมีปลาย
ประกอบด้วยประโยชน์ตามกาลอันสมควร ประกอบด้วยวจีสุจริต 4 กล่าววาจา
ปราศจากโทษ 4 สถาน เป็นผู้งดแล้ว งดเว้นแล้ว เว้นขาดแล้ว ออกแล้ว สลัดออก
แล้ว หลุดพ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับเดรัจฉานกถา 32 ประการ มีใจเป็นอิสระ
(จากกิเลส)อยู่
เธอย่อมกล่าวกถาวัตถุ 10 ประการ คือ
1. อัปปิจฉกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย)
2. สันตุฏฐิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสันโดษ)
3. ปวิเวกกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความสงัดกายใจ)
4. อสังสัคคกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่)
5. วิริยารัมภกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้มุ่งมั่นทำความเพียร)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :570 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
6. สีลกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล)
7. สมาธิกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำจิตมั่น)
8. ปัญญากถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา)
9. วิมุตติกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลสและความทุกข์)
10. วิมุตติญาณทัสสนกถา(ถ้อยคำที่ชักนำให้สนใจและเข้าใจเรื่องความรู้
ความเห็นในภาวะที่หลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์)
ย่อมกล่าว สติปัฏฐานกถา สัมมัปปธานกถา อิทธิบาทกถา อินทริยกถา พลกถา
โพชฌงคกถา มัคคกถา ผลกถา นิพพานกถา ภิกษุเป็นผู้สำรวมระวัง ระมัดระวัง
คุ้มครอง ปกปัก รักษา สังวรด้วยวาจา นี้ชื่อว่าความบริสุทธิ์แห่งวาจา ภิกษุพึงเป็น
ผู้ประกอบด้วยความบริสุทธิ์แห่งวาจาเช่นนี้ รวมความว่า พึงมีแนวทางแห่งถ้อยคำ
อย่างไร
คำว่า พึงมีโคจรในศาสนานี้อย่างไร อธิบายว่า พระเถระถามถึงโคจรว่า
ภิกษุพึงประกอบด้วยโคจรเช่นไร คือ ตั้งไว้อย่างไร มีประการอย่างไร เปรียบได้กับ
อะไร โคจรก็มี อโคจรก็มี

ว่าด้วยอโคจรและโคจร
อโคจร1 เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร มีหญิงหม้าย
เป็นโคจร มีสาวเทื้อเป็นโคจร มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร มีภิกษุณีเป็นโคจร หรือมีร้าน
สุราเป็นโคจร เป็นผู้อยู่คลุกคลีกับพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์
สาวกเดียรถีย์ ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร หรือเสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้
ตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ไม่เป็นดุจบ่อน้ำ มักด่าและบริภาษ ปรารถนาแต่สิ่ง
ที่มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนา
ความหลุดพ้นจากโยคะแก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกาเช่นนั้น นี้เรียกว่า
อโคจร

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ.(แปล) 35/514/388

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :571 }