เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
ดิ้นรนเพราะทุกข์ที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
ทุกข์เพราะมารดาตาย ...ทุกข์เพราะบิดาตาย ... ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย ...
ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย ... ทุกข์เพราะบุตรตาย ... ทุกข์เพราะธิดาตาย ...
ความพินาศของญาติ ... โภคทรัพย์พินาศ ... ความเสียหายที่เกิดจากโรค ... สีลวิบัติ
... ทิฏฐิวิบัติ รวมความว่า เราเห็น ... กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก
คำว่า หมู่สัตว์ ในคำว่า หมู่สัตว์นี้ ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย
เป็นชื่อเรียกสัตว์
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา
คำว่า ผู้ตกไปในอำนาจตัณหา อธิบายว่า ผู้ตกไปในอำนาจตัณหา คือ
ไปตามอำนาจตัณหา ซ่านไปตามตัณหา จมลงในตัณหา ถูกตัณหาผลักให้ตกไป ถูก
ตัณหาครอบงำ มีจิตถูกตัณหายึดครอง
คำว่า ในภพทั้งหลาย ได้แก่ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ รวมความว่า หมู่
สัตว์นี้ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย
คำว่า นรชนที่เลว ในคำว่า นรชนที่เลว ... ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช
อธิบายว่า นรชน ที่เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า ต่ำต้อย เพราะ
ประกอบด้วยกายกรรม ... วจีกรรม ... มโนกรรมที่เลว ... ปาณาติบาต ... อทินนาทาน
... กาเมสุมิจฉาจาร ... มุสาวาท ... ปิสุณาวาจา ... ผรุสวาจา ... สัมผัปปลาปะ ...
อภิชฌา ... พยาบาท ... มิจฉาทิฏฐิ ... สังขารทั้งหลาย .. กามคุณ 5 ... นิวรณ์ 5 ...
เจตนา ... ความปรารถนา ... ที่เลว คือ ทราม ต่ำทราม น่ารังเกียจ หยาบช้า
ต่ำต้อย เพราะประกอบด้วยความตั้งใจที่เลว รวมความว่า นรชนที่เลว
คำว่า ใกล้ปากมัจจุราช ในคำว่า ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช อธิบายว่า
นรชนผู้ถึงมัจจุราช ประจวบกับมัจจุราช เข้าถึงมัจจุราช ถึงมาร ประจวบกับมาร
เข้าถึงมาร ถึงมรณะ ประจวบกับมรณะ เข้าถึงมรณะ ร่ำไร คือ รำพัน เศร้าโศก
ลำบากใจ คร่ำครวญ ตีอกพร่ำเพ้อ ถึงความหลงใหล ใกล้ปากมาร ใกล้ปากมรณะ
รวมความว่า นรชนที่เลว... ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :57 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 2. คุหัฏฐกสุตตนิทเทส
คำว่า ผู้ยังไม่คลายจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า
คำว่า ตัณหา ได้แก่ รูปตัณหา ... ธัมมตัณหา
คำว่า ในภพน้อยภพใหญ่ อธิบายว่า ในภพน้อยภพใหญ่ คือ ในกรรมวัฏ
และวิปากวัฏ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในกามภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดใน
กามภพ ในกรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในรูปภพ ใน
กรรมวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในวิปากวัฏเป็นเครื่องเกิดในอรูปภพ ในภพต่อไป
ในคติต่อไป ในการถือกำเนิดต่อไป ในปฏิสนธิต่อไป ในการบังเกิดของอัตภาพต่อไป
คำว่า ผู้ยังไม่คลายตัณหา ได้แก่ ผู้ยังไม่คลายตัณหา คือ ไม่ปราศจาก
ตัณหา ไม่สละตัณหา ไม่คายตัณหา ไม่เปลื้องตัณหา ไม่ละตัณหา ไม่สลัดทิ้งตัณหา
รวมความว่า ผู้ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค
จึงตรัสว่า
เราเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้ตกไปในอำนาจตัณหาในภพทั้งหลาย
กำลังดิ้นรนอยู่ในโลก
นรชนที่เลว ผู้ยังไม่คลายตัณหาในภพน้อยภพใหญ่
ร่ำไรอยู่ใกล้ปากมัจจุราช
[12] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่
เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
เหมือนฝูงปลาในน้ำน้อยสิ้นกระแสแล้ว
นรชนเห็นโทษนี้แล้วก็อย่าก่อตัณหาเครื่องเกี่ยวข้องในภพทั้งหลาย
พึงประพฤติไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา
ว่าด้วยความยึดถือ 2 อย่าง
คำว่า พวกเธอจงดูหมู่สัตว์ผู้กำลังดิ้นรนอยู่ เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น
ของเรา อธิบายว่า
คำว่า ความยึดถือว่าเป็นของเรา ได้แก่ ความยึดถือว่าเป็นของเรา 2 อย่าง
คือ (1) ความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา (2) ความยึดถือว่าเป็นของเรา
ด้วยอำนาจทิฏฐิ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :58 }