เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
คำว่า บนที่นอน อธิบายว่า เสนาสนะ ตรัสเรียกว่า ที่นอน ได้แก่ วิหาร เรือน
หลังคาด้านเดียว ปราสาท เรือนโล้น ถ้ำ รวมความว่า บนที่นอนสูงและใหญ่
คำว่า ร้องอยู่ ในคำว่า ร้องอยู่... ซึ่งเป็นที่มีอารมณ์ที่น่าหวาดเสียว ได้แก่
ร้องอยู่ คือ ร้องลั่น ส่งเสียง ส่งเสียงดัง
อีกนัยหนึ่ง คำว่า ร้องอยู่ อธิบายว่า อารมณ์น่าหวาดเสียวมีเท่าไร มีประมาณ
เท่าไร มีขนาดไหน มีมากแค่ไหน ก็ร้องแค่นั้น
คำว่า อารมณ์ที่น่าหวาดเสียว ได้แก่ สิงโต เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว
สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้
ก่อกรรมไว้ รวมความว่า ร้องอยู่... ซึ่งเป็นที่มีอารมณ์ที่น่าหวาดเสียว
คำว่า อารมณ์ที่น่าหวาดเสียวเหล่าใด ในคำว่า ภิกษุ... เห็นอารมณ์ที่น่า
หวาดเสียวเหล่าใดแล้ว ไม่พึงหวั่นไหว ได้แก่ ภิกษุเห็นหรือได้ยินอารมณ์ที่น่า
หวาดเสียวเหล่าใดแล้วไม่พึงหวั่นไหว คือ ไม่พึงสั่นเทา ไม่พึงกระสับกระส่าย ไม่พึง
หวาดเสียว ไม่พึงครั่นคร้าม ไม่พึงเกรงกลัว ไม่พึงหวาดกลัว ไม่พึงถึงความสะดุ้ง
ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่ขลาด ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี พึงเป็นผู้ละภัยและความ
หวาดกลัว หมดความขนพองสยองเกล้าอยู่ รวมความว่า ภิกษุ... เห็นอารมณ์ที่น่า
หวาดเสียวเหล่าใดแล้ว ไม่พึงหวั่นไหว
คำว่า บนที่นั่งที่นอนอันไม่มีเสียงอื้ออึง ได้แก่ บนเสนาสนะที่มีเสียงน้อย
มีเสียงอึกทึกน้อย ปราศจากการสัญจรไปมาของผู้คน ควรเป็นสถานที่ทำการลับ
ของมนุษย์ สมควรเป็นที่หลีกเร้น รวมความว่า บนที่นั่งที่นอนอันไม่มีเสียงอื้ออึง
ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า
ภิกษุอยู่บนที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงอื้ออึง
เห็นอารมณ์ที่น่าหวาดเสียวเหล่าใดแล้ว ไม่พึงหวั่นไหว
ภิกษุ (อื่น) พึงหวั่นไหวร้องอยู่บนที่นอนสูงและใหญ่
ซึ่งเป็นที่มีอารมณ์ที่น่าหวาดเสียว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :563 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
[195] (พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า)
ภิกษุเมื่อจะไปสู่ทิศที่ไม่เคยไป
พึงปราบปรามอันตรายเท่าที่มีอยู่ในโลก
บนที่นั่งที่นอนอันเงียบสงัด
คำว่า เท่าที่มีอยู่ ในคำว่า อันตรายเท่าที่มีอยู่ในโลก ได้แก่ เท่าที่มีอยู่ คือ
มีประมาณเท่าไร มีขนาดไหน มีมากแค่ไหน
คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย 2 อย่าง คือ (1) อันตรายที่ปรากฏ (2)
อันตรายที่ไม่ปรากฏ
อันตรายที่ปรากฏ คืออะไร
คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว สุนัขป่า โค กระบือ ช้าง งู
แมงป่อง ตะขาบ โจร คนที่ได้ก่อกรรมไว้ หรือยังมิได้ก่อกรรมไว้ โรคทางตา
โรคทางหู โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคศีรษะ โรคหู โรคปาก โรคฟัน
โรคไอ โรคหืด ไข้หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมซึม โรคท้อง เป็นลมสลบ ลงแดง จุกเสียด
อหิวาตกโรค โรคเรื้อน ฝี กลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน หิด หูด
โรคละลอก โรคดีซ่าน โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวงทวาร ความ
เจ็บป่วยที่เกิดจากดี ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม
ไข้สันนิบาต ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล ความเจ็บป่วยที่เกิดจากการ
ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความพากเพียรเกินกำลัง
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย
ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ ความเจ็บป่วยที่เกิดจากสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด
และสัตว์เลื้อยคลาน เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ
อันตรายที่ไม่ปรากฏ คืออะไร
คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์
ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ โกธะ
อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ
อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทุกชนิด ทุจริตทุกทาง ความกระวนกระวายทุกอย่าง
ความเร่าร้อนทุกสถาน ความเดือดร้อนทุกประการ อกุสลาภิสังขารทุกประเภท
เหล่านี้เรียกว่า อันตรายที่ไม่ปรากฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :564 }