เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
[193] (พระสารีบุตรกล่าวว่า)
เมื่อภิกษุเบื่อหน่าย ใช้สอยที่นั่งอันว่างเปล่า
ในถ้ำแห่งภูเขา ที่โคนต้นไม้ หรือที่ป่าช้า
คำว่า เมื่อภิกษุ ในคำว่า เมื่อภิกษุเบื่อหน่าย ได้แก่ เมื่อภิกษุผู้เป็นกัลยาณ-
ปุถุชน หรือ ภิกษุผู้เป็นพระเสขะ
คำว่า เบื่อหน่าย ได้แก่ เบื่อหน่าย คือ อึดอัด ระอา รังเกียจด้วยชาติ... ชรา...
พยาธิ... มรณะ... โสกะ... ปริเทวะ... ทุกข์... โทมนัส... อุปายาส...
เบื่อหน่าย อึดอัด ระอา รังเกียจด้วยทุกข์เนื่องจากการเกิดในนรก... ทุกข์
เนื่องจากการเกิดในกำเนิดเดรัจฉาน... ทุกข์เนื่องจากการเกิดในเปตวิสัย... ทุกข์
เนื่องจากการเกิดในโลกมนุษย์... ทุกข์เนื่องจากการถือกำเนิดในครรภ์... ทุกข์
เนื่องจากการอยู่ในครรภ์... ทุกข์เนื่องจากการคลอดจากครรถ์... ทุกข์ที่สืบเนื่องจาก
ผู้เกิด... ทุกข์ของผู้เกิดที่เนื่องมาจากผู้อื่น... ทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของตน...
ทุกข์ที่เกิดจากความพยายามของคนอื่น... ทุกข์ที่เกิดจากทุกขเวทนา... ทุกข์ที่เกิด
จากสังขาร... ทุกข์ที่เกิดจากความแปรผัน...
เบื่อหน่ายด้วยทุกข์เพราะโรคทางตา... ทุกข์เพราะโรคทางหู... ทุกข์เพราะโรค
ทางจมูก... ทุกข์เพราะโรคทางลิ้น... ทุกข์เพราะโรคทางกาย... ทุกข์เพราะโรคศีรษะ...
ทุกข์เพราะโรคหู... ทุกข์เพราะโรคปาก... ทุกข์เพราะโรคฟัน... โรคไอ... โรคหืด...
ไข้หวัด... ไข้พิษ... ไข้เชื่อมซึม... โรคท้อง... เป็นลมสลบ... ลงแดง... จุกเสียด...
อหิวาตกโรค... โรคเรื้อน... ฝี... กลาก... มองคร่อ... ลมบ้าหมู... หิดเปื่อย... หิดด้าน...
หิด... หูด... โรคละลอก... โรคดีซ่าน... โรคเบาหวาน... โรคเริม... โรคพุพอง...
โรคริดสีดวงทวาร... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากดี... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากเสมหะ...
ความเจ็บป่วยที่เกิดจากลม... ไข้สันนิบาต...
เบื่อหน่ายด้วยความเจ็บป่วยที่เกิดจากการเปลี่ยนฤดูกาล... ความเจ็บป่วยที่
เกิดจากการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ส่วนกัน... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากความ
พากเพียรเกินกำลัง... ความเจ็บป่วยที่เกิดจากผลกรรม... ความหนาว... ความร้อน...
ความหิว... ความกระหาย... ปวดอุจจาระ... ปวดปัสสาวะ... ทุกข์ที่เกิดจากสัมผัส
แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :561 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
เบื่อหน่าย คือ อึดอัด ระอา รังเกียจด้วยทุกข์เพราะมารดาตาย... ทุกข์เพราะ
บิดาตาย... ทุกข์เพราะพี่ชายน้องชายตาย... ทุกข์เพราะพี่สาวน้องสาวตาย... ทุกข์
เพราะบุตรตาย... ทุกข์เพราะธิดาตาย... ทุกข์เพราะความพินาศของญาติ... ทุกข์
เพราะโภคทรัพย์พินาศ... ทุกข์เพราะความเสียหายที่เกิดจากโรค... ทุกข์เพราะ
สีลวิบัติ... ทุกข์เพราะทิฏฐิวิบัติ รวมความว่า เมื่อภิกษุเบื่อหน่าย
คำว่า ใช้สอยที่นั่งอันว่างเปล่า อธิบายว่า ที่เป็นที่นั่งของภิกษุ ตรัสเรียกว่า
ที่นั่ง ได้แก่ เตียง ตั่ง เบาะ เสื่อ แผ่นหนัง เครื่องปูลาดทำด้วยหญ้า เครื่องปูลาด
ทำด้วยใบไม้ เครื่องปูลาดทำด้วยฟาง ที่นั่งนั้น ว่าง คือ สงัด เงียบจากการเห็นรูปไม่
เป็นที่สบาย... จากการได้ยินเสียงไม่เป็นที่สบาย... จากกามคุณ 5 ไม่เป็นที่สบาย
เมื่อภิกษุ ใช้ คือ ใช้สอย เสพ เสพเป็นนิจ ซ่องเสพ เสพเฉพาะที่นั่งอันว่างเปล่านั้น
รวมความว่า ใช้สอยที่นั่งอันว่างเปล่า
คำว่า ที่โคนต้นไม้ หรือที่ป่าช้า อธิบายว่า รุกขมูลนั่นเอง ชื่อว่าโคนต้นไม้
สุสานนั่นเอง ชื่อว่าป่าช้า รวมความว่า ที่โคนต้นไม้ หรือที่ป่าช้า
คำว่า ในถ้ำแห่งภูเขา อธิบายว่า บรรพตนั่นเอง เรียกว่าภูเขา กันทระนั่นเอง
เรียกว่าซอกเขา คิริคุหานั่นเอง เรียกว่าถ้ำแห่งภูเขา ซอกระหว่างเขา เรียกว่า ซอก
เขาแห่งภูเขาทั้งหลาย รวมความว่า ในถ้ำแห่งภูเขา ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตรเถระ
จึงกล่าวว่า
เมื่อภิกษุเบื่อหน่าย ใช้สอยที่นั่งอันว่างเปล่า
ที่โคนต้นไม้ ที่ป่าช้า หรือในถ้ำแห่งภูเขา
[194] (พระสารีบุตรเถระกล่าวว่า)
ภิกษุอยู่บนที่นอนที่นั่งอันไม่มีเสียงอื้ออึง
เห็นอารมณ์ที่น่าหวาดเสียวเหล่าใดแล้ว ไม่พึงหวั่นไหว
ภิกษุ(อื่น)พึงหวั่นไหวร้องอยู่บนที่นอนสูงและใหญ่
ซึ่งเป็นที่มีอารมณ์ที่น่าหวาดเสียว
คำว่า สูงและใหญ่ ในคำว่า บนที่นอนสูงและใหญ่ ได้แก่ สูงและใหญ่ คือ
เลวและประณีต ดีและชั่ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :562 }