เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ทรงเป็นพระคณาจารย์ของหมู่ภิกษุ... หมู่ภิกษุณี... หมู่อุบาสก... หมู่อุบาสิกา...
หมู่พระราชา... หมู่กษัตริย์... หมู่พราหมณ์... หมู่แพศย์... หมู่ศูทร... หมู่เทพ...
หมู่พรหม จึงชื่อว่าพระคณาจารย์ พระศาสดาทรงเป็นผู้นำหมู่ เป็นพระคณาจารย์
เป็นอาจารย์แห่งหมู่คณะ
คำว่า เสด็จมาแล้ว ได้แก่ ทรงเข้าไป ทรงเข้าไปถึง ทรงถึงพร้อมซึ่งสังกัสสนคร
แล้ว รวมความว่า ไม่หลอกลวง เสด็จมาเป็นพระคณาจารย์
คำว่า ของคนเป็นอันมาก ในคำว่า ของคนเป็นอันมาก ผู้ยังผูกพันอยู่ใน
ศาสนานี้ ได้แก่ คนเป็นอันมาก คือ ที่เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดา มนุษย์
คำว่า ผู้ยังผูกพันอยู่ ได้แก่ ผู้ยังผูกพันอยู่ คือ มีความประพฤติผูกพัน
เป็นผู้บำรุง เป็นศิษย์ รวมความว่า ของคนเป็นอันมาก ผู้ยังผูกพันอยู่ในศาสนานี้
คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา จึงมาเฝ้า อธิบายว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้าแล้ว คือ ปรารถนาจะทูลถามปัญหา
จึงมาเฝ้าแล้ว มีความปรารถนาจะฟังปัญหา จึงมาเฝ้าแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์
มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา จึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง การมาเฝ้า การก้าวเดินเข้าเฝ้า การเข้าไปเฝ้า การเข้าไปนั่งใกล้
พึงมีแก่ผู้ต้องการด้วยปัญหา คือ ผู้ปรารถนาจะถามปัญหา ผู้ปรารถนาจะฟังปัญหา
รวมความว่า ข้าพระองค์มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา จึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระองค์ทรงมีอาคม(แหล่งความรู้)แห่งปัญหา พระองค์ทรงมี
ความสามารถที่จะตรัสบอก คือ วิสัชนาปัญหาข้อที่ข้าพระองค์ทูลถาม ปัญหาข้อนี้
จึงเป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า ข้าพระองค์มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา
จึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา
จึงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ไม่ทรงถูกกิเลสอาศัย เป็นผู้มั่นคง ไม่หลอกลวง
เสด็จมาเป็นพระคณาจารย์ของคนเป็นอันมาก
ผู้ยังผูกพันอยู่ในศาสนานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :560 }