เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
อยู่ในปราสาท... อยู่ในเรือนโล้น... อยู่ในถ้ำ... อยู่ในที่หลีกเร้น... อยู่ในกุฎี... อยู่ใน
เรือนยอด... อยู่ที่ป้อม... อยู่ในโรงกลม...อยู่ในเรือนพัก... อยู่ในเรือนรับรอง... อยู่ใน
มณฑป... อยู่ที่โคนไม้ มีรูปแบบอย่างนี้ เป็นสมณะมีศักดิ์ใหญ่"
อีกนัยหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้วางหน้าเฉยเมย ทำหน้านิ่วคิ้วขมวด โกหกหลอกลวง
ปลิ้นปล้อน ตลบตะแลง เป็นผู้ได้รับยกย่องด้วยการวางหน้าว่า "สมณะนี้ได้วิหาร-
สมาบัติ อันมีอยู่เห็นปานนี้" ภิกษุนั้น ย่อมกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น อันเกี่ยวเนื่องด้วย
โลกุตตรธรรมและสุญญตนิพพาน ซึ่งลึกซึ้ง เร้นลับ ละเอียดอ่อน ปิดบัง การทำ
หน้านิ่ว การทำคิ้วขมวด การหลอกลวง กิริยาที่หลองลวง ภาวะที่หลอกลวง เห็น
ปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า เรื่องหลอกลวงเกี่ยวกับการพูดเลียบเคียง
เรื่องหลอกลวง 3 อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว
ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว
เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าผู้ไม่หลอกลวง รวมความว่า ไม่หลอกลวง

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าทรงเป็นพระคณาจารย์
คำว่า พระคณาจารย์ ในคำว่า เสด็จมาเป็นพระคณาจารย์ อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคทรงเป็นพระคณาจารย์
ทรงเป็นอาจารย์แห่งหมู่คณะ จึงชื่อว่าพระคณาจารย์
ทรงเป็นศาสดาแห่งหมู่คณะ จึงชื่อว่าพระคณาจารย์
ทรงบริหารหมู่คณะ จึงชื่อว่าพระคณาจารย์
ทรงสั่งสอนหมู่คณะ จึงชื่อว่าพระคณาจารย์
ทรงตามสอนหมู่คณะ จึงชื่อว่าพระคณาจารย์
ทรงแกล้วกล้าเสด็จเข้าสู่หมู่คณะ จึงชื่อว่าพระคณาจารย์
หมู่คณะย่อมตั้งใจฟัง เงี่ยโสตลงฟังพระองค์ ตั้งจิตเพื่อความรู้ จึงชื่อว่า
พระคณาจารย์
พระศาสดาทรงทำหมู่คณะให้ออกจากอกุศลแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศล จึงชื่อว่า
พระคณาจารย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :559 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ทรงเป็นพระคณาจารย์ของหมู่ภิกษุ... หมู่ภิกษุณี... หมู่อุบาสก... หมู่อุบาสิกา...
หมู่พระราชา... หมู่กษัตริย์... หมู่พราหมณ์... หมู่แพศย์... หมู่ศูทร... หมู่เทพ...
หมู่พรหม จึงชื่อว่าพระคณาจารย์ พระศาสดาทรงเป็นผู้นำหมู่ เป็นพระคณาจารย์
เป็นอาจารย์แห่งหมู่คณะ
คำว่า เสด็จมาแล้ว ได้แก่ ทรงเข้าไป ทรงเข้าไปถึง ทรงถึงพร้อมซึ่งสังกัสสนคร
แล้ว รวมความว่า ไม่หลอกลวง เสด็จมาเป็นพระคณาจารย์
คำว่า ของคนเป็นอันมาก ในคำว่า ของคนเป็นอันมาก ผู้ยังผูกพันอยู่ใน
ศาสนานี้ ได้แก่ คนเป็นอันมาก คือ ที่เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดา มนุษย์
คำว่า ผู้ยังผูกพันอยู่ ได้แก่ ผู้ยังผูกพันอยู่ คือ มีความประพฤติผูกพัน
เป็นผู้บำรุง เป็นศิษย์ รวมความว่า ของคนเป็นอันมาก ผู้ยังผูกพันอยู่ในศาสนานี้
คำว่า ข้าพระองค์มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา จึงมาเฝ้า อธิบายว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการด้วยปัญหาจึงมาเฝ้าแล้ว คือ ปรารถนาจะทูลถามปัญหา
จึงมาเฝ้าแล้ว มีความปรารถนาจะฟังปัญหา จึงมาเฝ้าแล้ว รวมความว่า ข้าพระองค์
มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา จึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง การมาเฝ้า การก้าวเดินเข้าเฝ้า การเข้าไปเฝ้า การเข้าไปนั่งใกล้
พึงมีแก่ผู้ต้องการด้วยปัญหา คือ ผู้ปรารถนาจะถามปัญหา ผู้ปรารถนาจะฟังปัญหา
รวมความว่า ข้าพระองค์มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา จึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง
อีกนัยหนึ่ง พระองค์ทรงมีอาคม(แหล่งความรู้)แห่งปัญหา พระองค์ทรงมี
ความสามารถที่จะตรัสบอก คือ วิสัชนาปัญหาข้อที่ข้าพระองค์ทูลถาม ปัญหาข้อนี้
จึงเป็นภาระของพระองค์ รวมความว่า ข้าพระองค์มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา
จึงมาเฝ้า อย่างนี้บ้าง ด้วยเหตุนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการ(ถาม)ปัญหา
จึงมาเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้ไม่ทรงถูกกิเลสอาศัย เป็นผู้มั่นคง ไม่หลอกลวง
เสด็จมาเป็นพระคณาจารย์ของคนเป็นอันมาก
ผู้ยังผูกพันอยู่ในศาสนานี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :560 }