เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
3. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว
4. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้พ้นแล้ว
5. เป็นผู้มั่นคง เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคงทั้งในลาภและความเสื่อมลาภ เป็นผู้มั่นคง
ทั้งในยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มั่นคงทั้งในสรรเสริญและนินทา เป็นผู้มั่นคงทั้งใน
สุขและทุกข์ คนบางพวกเอาของหอมชะโลมพระพาหาข้างหนึ่ง อีกพวกหนึ่งใช้มีด
ถากพระพาหาอีกข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงมีความยินดีในการชะโลมด้วย
ของหอมที่พระพาหาข้างโน้น และไม่ทรงมีความยินร้ายในการถากพระพาหาข้างโน้น
พระผู้มีพระภาคทรงละความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว ทรงล่วงพ้นความดีใจและ
ความเสียใจแล้ว ทรงก้าวล่วงความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว พระผู้มีพระภาค
ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงสละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งราคะได้แล้ว ... โทสะ ...
โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ .. ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ...
สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลส
ทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง... ความเร่าร้อนทุกสถาน...
ความเดือดร้อนทุกประการ... พระผู้มีพระภาคทรงสละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้ง
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทได้แล้ว พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้
สละแล้ว เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาค ทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น
กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวงได้แล้ว พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรมแล้ว ทรงผ่าน
ทางไกลแล้ว ทรงถึงทิศ(นิพพาน)แล้ว ทรงถึงจุดจบ(นิพพาน)แล้ว ทรงรักษา
พรหมจรรย์แล้ว ทรงบรรลุทิฏฐิสูงสุดแล้ว ทรงเจริญมรรคแล้ว ทรงละกิเลสได้แล้ว
ทรงรู้แจ้งธรรมที่ไม่กำเริบแล้ว ทรงทำนิโรธให้แจ้งแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :554 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงกำหนดรู้ทุกข์แล้ว ทรงละสมุทัยได้แล้ว
ทรงเจริญมรรคได้แล้ว ทรงทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว ทรงรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแล้ว
ทรงกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ได้แล้ว ทรงละธรรมที่ควรละได้แล้ว ทรงเจริญ
ธรรมที่ควรเจริญได้แล้ว ทรงทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้งได้แล้ว
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงถอนลิ่มสลักคืออวิชชาได้แล้ว ทรงถมคูคือ
กรรมได้แล้ว ทรงถอนเสาระเนียดคือตัณหาได้แล้ว ไม่มีบานประตูคือสังโยชน์ ทรง
ไกลจากข้าศึกคือกิเลส ทรงปลดธงคือมานะลงเสียแล้ว ทรงปลงภาระได้แล้ว มิได้
ทรงเกี่ยวข้องกับโยคกิเลสแล้ว ทรงละองค์ 5 (นิวรณ์)ได้แล้ว ทรงประกอบด้วยองค์ 6
ทรงมีธรรมเครื่องรักษาอย่างเอก(คือสติ) มีอปัสเสนธรรม 4 อย่าง มีปัจเจกสัจจะ
อันบรรเทาได้แล้ว ทรงมีการแสวงหาอันสละได้โดยชอบไม่บกพร่อง ทรงมีพระดำริ
ไม่ขุ่นมัว ทรงมีกายสังขารอันระงับได้แล้ว ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ทรงมีปัญญาหลุด
พ้นได้ดี ทรงเป็นผู้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ทรงอยู่จบพรหมจรรย์ ทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็น
บรมบุรุษ ทรงถึงการบรรลุปรมัตถธรรมแล้ว
พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น มิได้ทรงก่อผลกรรม มิได้ทรงกำจัด ทรงกำจัดได้
แล้วดำรงอยู่ มิได้ทรงละกิเลส มิได้ทรงถือมั่น ทรงละได้แล้วดำรงอยู่ มิได้ทรงเย็บ
มิได้ทรงยก ทรงเย็บได้แล้วดำรงอยู่ มิได้ทรงดับ มิได้ทรงก่อ ทรงดับได้แล้วดำรงอยู่
ชื่อว่าดำรงตนอยู่ได้ เพราะทรงเพียบพร้อมด้วยสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์อันเป็นอเสขะ ทรงดำรงอยู่ ทรงแทงตลอดสัจจะ
แล้ว ทรงดำรงอยู่โดยการก้าวล่วงตัณหาอันเป็นเหตุให้หวั่นไหว ทรงดำรงอยู่โดยการ
ดับไฟกิเลส ทรงดำรงอยู่โดยไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ทรงดำรงอยู่โดยการสมาทาน
ธรรมขั้นสุดยอด ทรงดำรงอยู่โดยการเสพวิมุตติ ทรงดำรงอยู่ด้วยเมตตาอันบริสุทธิ์
กรุณาอันบริสุทธิ์ มุทิตาอันบริสุทธิ์ อุเบกขาอันบริสุทธิ์ ทรงดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์
อย่างยิ่ง ทรงดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์เพราะไม่มีตัณหา ทิฏฐิ มานะ ทรงดำรงอยู่
โดยความเป็นผู้หลุดพ้น ทรงดำรงอยู่โดยความเป็นผู้สันโดษ ทรงดำรงอยู่ในขันธ์สุดท้าย
ทรงดำรงอยู่ในธาตุสุดท้าย ทรงดำรงอยู่ในอายตนะสุดท้าย ทรงดำรงอยู่ในคติสุดท้าย
ทรงดำรงอยู่ในอุปบัติสุดท้าย ทรงดำรงอยู่ในปฏิสนธิสุดท้าย ทรงดำรงอยู่ในภพสุดท้าย
ทรงดำรงอยู่ในสงสารสุดท้าย ทรงดำรงอยู่ในวัฏฏะสุดท้าย ทรงดำรงอยู่ในภพสุดท้าย
ทรงดำรงอยู่ในประชุมแห่งขันธ์สุดท้าย ทรงไว้ซึ่งร่างกายขั้นสุดท้าย ทรงเป็นผู้ไกล
จากข้าศึก (สมจริงดังคาถาประพันธ์ว่า)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :555 }