เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่นา ที่สวน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี แคว้น ชนบท
กองพลรบ คลังหลวง แม้มหาปฐพีทั้งสิ้นย่อมยึดถือว่าเป็นของเราด้วยอำนาจตัณหา
ซึ่งจำแนกได้ 108 นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา
ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ เป็นอย่างไร
คือ สักกายทิกฐิมีวัตถุ 20 มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ 10 อันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ 10
ทิฏฐิ การตกอยู่ในทิฏฐิ ความรกชัฏคือทิฏฐิ ความกันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนาม
คือทิฏฐิ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ เครื่องผูกพันคือทิฏฐิ ความถือ ความถือมั่น ความ
ยึดมั่น ความยึดมั่นถือมั่น ทางชั่ว ทางผิด ภาวะที่ผิด ลัทธิเดียรถีย์ ความถือขัดแย้ง
ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือในสิ่งที่ไม่เป็นความจริงว่า
เป็นจริงเห็นปานนี้จนถึงทิฏฐิ 62 นี้ชื่อว่าความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิ
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหาได้แล้ว สลัดทิ้ง
ความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว เพราะเป็นผู้ทรงละความอาศัยด้วยอำนาจตัณหา
สลัดทิ้งความอาศัยด้วยอำนาจทิฏฐิได้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงชื่อว่าไม่ทรงอาศัย คือ
ไม่ติดแล้ว ไม่ติดแน่นแล้ว ไม่ติดพันแล้ว ไม่ติดใจแล้ว ออกแล้ว สลัดออกแล้ว หลุด
พ้นแล้ว ไม่เกี่ยวข้องแล้วกับตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... รูป... เสียง... กลิ่น...
รส... โผฏฐัพพะ... ตระกูล... หมู่คณะ... อาวาส... ลาภ... ยศ... สรรเสริญ... สุข... จีวร...
บิณฑบาต... เสนาสนะ... คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร... กามธาตุ... รูปธาตุ... อรูปธาตุ...
กามภพ... รูปภพ... อรูปภพ... สัญญาภพ... อสัญญาภพ... เนวสัญญานาสัญญาภพ...
เอกโวการภพ... จตุโวการภพ... ปัญจโวการภพ... อดีต... อนาคต... ปัจจุบัน...
รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่รับรู้ และธรรมารมณ์ที่พึงรู้แจ้ง มีใจ
เป็นอิสระ(จากความอาศัย)อยู่ รวมความว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ไม่ทรงถูก
กิเลสอาศัย

ว่าด้วยผู้มั่นคงด้วยอาการ 5 อย่าง
คำว่า เป็นผู้มั่นคง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคงด้วยอาการ 5 อย่าง
คือ
1. เป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์
2. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :553 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 16. สารีปุตตสุตตนิทเทส
3. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว
4. เป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้พ้นแล้ว
5. เป็นผู้มั่นคง เพราะทรงแสดงออกซึ่งธรรมนั้น ๆ
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคงทั้งในลาภและความเสื่อมลาภ เป็นผู้มั่นคง
ทั้งในยศและความเสื่อมยศ เป็นผู้มั่นคงทั้งในสรรเสริญและนินทา เป็นผู้มั่นคงทั้งใน
สุขและทุกข์ คนบางพวกเอาของหอมชะโลมพระพาหาข้างหนึ่ง อีกพวกหนึ่งใช้มีด
ถากพระพาหาอีกข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคก็ไม่ทรงมีความยินดีในการชะโลมด้วย
ของหอมที่พระพาหาข้างโน้น และไม่ทรงมีความยินร้ายในการถากพระพาหาข้างโน้น
พระผู้มีพระภาคทรงละความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว ทรงล่วงพ้นความดีใจและ
ความเสียใจแล้ว ทรงก้าวล่วงความยินดีและความยินร้ายได้แล้ว พระผู้มีพระภาค
ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคงในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้สละแล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาคทรงสละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้งราคะได้แล้ว ... โทสะ ...
โมหะ ... โกธะ ... อุปนาหะ ... มักขะ .. ปฬาสะ ... อิสสา ... มัจฉริยะ ... มายา ...
สาเถยยะ ... ถัมภะ ... สารัมภะ ... มานะ ... อติมานะ ... มทะ ... ปมาทะ ... กิเลส
ทุกชนิด... ทุจริตทุกทาง... ความกระวนกระวายทุกอย่าง... ความเร่าร้อนทุกสถาน...
ความเดือดร้อนทุกประการ... พระผู้มีพระภาคทรงสละ คลาย ปล่อย ละ สลัดทิ้ง
อกุสลาภิสังขารทุกประเภทได้แล้ว พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้
สละแล้ว เป็นอย่างนี้
พระผู้มีพระภาคเป็นผู้มั่นคง เพราะเป็นผู้ข้ามได้แล้ว เป็นอย่างไร
คือ พระผู้มีพระภาค ทรงข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ก้าวพ้น ล่วงพ้น
กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ ทางแห่งสงสารทั้งปวงได้แล้ว พระผู้มีพระภาค
พระองค์นั้น ทรงอยู่ใน(อริยวาสธรรม)แล้ว ทรงประพฤติจรณธรรมแล้ว ทรงผ่าน
ทางไกลแล้ว ทรงถึงทิศ(นิพพาน)แล้ว ทรงถึงจุดจบ(นิพพาน)แล้ว ทรงรักษา
พรหมจรรย์แล้ว ทรงบรรลุทิฏฐิสูงสุดแล้ว ทรงเจริญมรรคแล้ว ทรงละกิเลสได้แล้ว
ทรงรู้แจ้งธรรมที่ไม่กำเริบแล้ว ทรงทำนิโรธให้แจ้งแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :554 }